Skip to main content

กัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ประกาศเริ่มแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคว่าด้วยสตรี สันติภาพและความมั่นคง (The Regional Action Plan on Women, Peace and Security: RAP WSP) เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ สิทธิสตรี การมีส่วนร่วมในการทำนโยบายหรือตัดสินใจในประเด็นสำคัญ ปกป้องและป้องกันเด็กและสตรีจากความขัดแย้งและความรุนแรง จากโรคระบาด โควิด ภัยธรรม ภาวะโลกร้อน และเพิ่มพลังให้เด็กและสตรีในโลกยุค Disruptive และเศรษฐกิจดิจิทัล

ขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นเพียง 2 ประเทศในอาเซียนที่เริ่มดำเนินการแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยสตรี สันติภาพและความมั่นคง ไปแล้ว และนำไปสู่การประยุกต์เป็นนโยบายของประเทศเพื่อป้องกันผู้หญิงจากความขัดแย้ง ความไม่เท่าเทียม ความรุนแรงทางเพศ และปกป้องสิทธิสตรี โดย เลนลี โรซาลิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง Women’s Empowerment and Children Protection ประเทศอินโดนีเซีย ดูแลด้านความเท่าเทียมทางเพศ ประกาศว่า ปี 2023 อินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนจะสืบสานหลักการด้านความเท่าเทียมทางเพศ สิทธิมนุษยชน และความยั่งยืนในภูมิภาค ตามแผนปฏิบัติการภูมิภาคว่าด้วยสตรี สันติภาพและความมั่นคงต่อไป

Ing Kantha Phavi รัฐมนตรีว่าการกระทรวง Women’s Affairs ประเทศกัมพูชา กล่าวว่า ผู้หญิงมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างสันติภาพและความมั่นคง กว่าจะมาเป็นแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคนี้ได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2017 โดยได้รับความร่วมมือจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาค องค์กรต่างๆ ที่ให้การสนับสนุน กัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนกำลังจะทำจากแผนปฏิบัติการระดับภูมินี้ให้เกิดขึ้นจริงในทุกภาคส่วนของอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น ด้านการเงิน ด้านเทคโนโลยี หรือด้านการสื่อสารที่ต้องเพิ่มความตระหนักถึงวาระนี้ขึ้นไปอีก และเชื่อว่า แผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคว่าด้วยสตรี สันติภาพและความมั่นคงที่ใช้เวลาศึกษาและพัฒนามากว่า 3 ปีจะเป็นเครื่องมือในการสร้างความเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้นในภูมิภาคอย่างยั่งยืน ส่วนการปรับมาเป็นแผนปฏิบัติการแห่งชาติต้องให้เข้ากับบริบทภายในประเทศ ในส่วนของกัมพูชาเองก็พยายามส่งเสริมให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ทุกวันนี้ 20% ของผู้หญิงเข้ามาในการเมืองตั้งแต่ระดับท้องถิ่นตั้งแต่ผู้ใหฐ่บ้านที่ไม่เคยมีมาก่อน ทุกวันนี้ก็มีแล้ว รวมไปถึงสมาชิกรัฐสภา จนถึงรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี

Kheng Samvada ปลัดกระทรวง Women’s Affairs ประเทศกัมพูชา ให้สัมภาษณ์ว่า แม้ในประเทศจะไม่มีสงคราม แต่ยังมีสถานการณ์ต่างๆ เช่น โรคระบาด ภัยธรรมชาติ และประเด็นอื่นๆ เพราะวาระสตรี สันติภาพและความมั่นคงไม่ใช่แค่สำหรับประเทศที่มีสงคราม แต่ต้องการส่งเสริมบทบาทของสตรีในการสร้างและรักษาสันติ และในฐานะของประธานอาเซียนเราก็ต้องทำให้ประเทศกัมพูชาใส่ใจในประเด็นความเท่าเทียมทางเพศ และการเพิ่มพลังให้กับสตรีและเด็ก กัมพูชามีความตั้งใจจริงในด้านนี้เห็นได้จากการสัมมาครั้งแรกของวาระสตรี สันติภาพและความมั่นคงก็เกิดขึ้นในกัมพูชา และแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคก็เกิดขึ้นเพื่อให้มีแผนการและตัวชี้วัดที่ชัดเจน

วาระสตรี สันติภาพ และความมั่นคง ตามมติที่ 1325 ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSCR) เมื่อปี ค.ศ.2000 โดยมีเสาหลัก 4 ด้านคือ Participation, Prevention, Protection, Relief and Recover ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยวาระนี้เริ่มต้นในอาเซียนจาก Declaration on the Elimination of Violence Against Women in the ASEAN Region ในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมื่อปี 2004 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย, ตามมาด้วยการรับหลักการของ Declaration on the Elimination of Violence against Women and Elimination of Violence Against Children in ASEAN ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อปี 2013 และประกาศเป็นแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาค ASEAN Regional Plan of Action on the Elimination of Violence against Women ในปี 2015 และรับรอง The Joint Statement on Promoting Women, Peace and Security in ASEAN ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อปี 2017, The ASEAN Ministerial Dialogue on Strengthening Women’s Role for Sustainable Peace and Security เกิดขึ้นเมื่อ 2020, นำมาสู่การหารือระดับรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่บทบาทสตรี สำหรับสันติภาพและความมั่นคงที่ยั่งยืนในปี 2020 ก่อนจะมีการพัฒนาและศึกษาแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคภายใต้การสนับสนุนของ the U.S. Agency for International Development (USAID) and UN Women ในปี 2021

ทั้งนี้ผู้นำอาเซียนเห็นชอบแผนปฏิบัติการภูมิภาคว่าด้วยสตรี สันติภาพและความมั่นคง ปี 2021-2025ในการประชุมอาเซียนที่กรุงพนญเปญที่ผ่านมา และมีแนวโน้มว่าหลังจากนี้แต่ละประเทศจะรับหลักการและนำไปจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการแห่งชาติต่อไป ซึ่งประเทศที่กำลังจะดำเนินการจัดทำอยู่ตอนนี้คือ ประเทศเวียดนาม