Skip to main content

การศึกษาของมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น พบว่า เด็กเชื่อมโยงความเมตตากับความเฉลียวฉลาดเข้ากับแบบแผนทางเพศแบบดั้งเดิมของความเป็นหญิง-ชาย ตั้งแต่อายุก่อนวัยเรียนจนถึงระดับประถมศึกษาตอนต้น

ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อต้นเดือน ต.ค. นี้ในวารสาร Scientific Reports ได้ศึกษาเด็กชาย-หญิงชาวญี่ปุ่น 565 คน พบว่าเด็กหญิงจะเริ่มเชื่อว่าพวกเธอดีกว่าเด็กชายตอนอายุ 4 ขวบ ส่วนเด็กชายมักจะรู้สึกว่าตัวเองฉลาดกว่าเด็กผู้หญิงเมื่ออายุ 7 ขวบ

ส่วนรายงานจากนักวิจัยที่เผยแพร่ผ่านทางออนไลน์เมื่อวันที่ 11 ต.ค. ได้พยายามค้นหาที่มาของทัศนคติแบบเหมารวมในญี่ปุ่น ที่ World Economic Forum ในปีนี้จัดให้ญี่ปุ่นอยู่อันดับ 116 จาก 146 ประเทศในรายงานเรื่องช่องว่างทางเพศ 

โดยผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า บทบาททางเพศที่ตายตัวส่งเสริมและยึดถือความไม่เสมอภาคทางเพศ ซึ่งเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย โดยที่เด็กได้เข้าเรียนในชั้นเรียนบางประเภท ที่ต่อมาส่งผลกระทบต่ออาชีพของพวกเขาในวัยผู้ใหญ่ ตัวอย่างคือ สาขาวิทยาศาสตร์ที่มีผู้หญิงทำงานน้อยกว่าผู้ชาย

ในการศึกษานี้ นักวิจัยจากสถาบันต่างๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัยเกียวโต ได้บอกลุ่มเด็กเรื่องสมมติเกี่ยวกับผู้ใหญ่และเด็กที่แสดงคุณลักษณะที่ "ดี" หรือ "ฉลาด" โดยใช้ภาพถ่ายและหุ่นไม้ของทั้งสองเพศ ให้เด็กเลือกเพศที่สัมพันธ์กับลักษณะเฉพาะแต่ละอย่าง พบว่า มากกว่า 70% ของเด็กผู้หญิงทุกช่วงวัยเด็กเห็นความกรุณาเป็นลักษณะนิสัยของผู้หญิง

ส่วนเด็กอายุ 4-6 ขวบ ไม่พบความแตกต่างทางเพศ แต่เมื่ออายุ 7 ขวบ มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีเด็กชายเชื่อมโยงกับเพศมากกว่าเด็กหญิง 

ทีมวิจัยรู้สึกประหลาดใจที่พบว่า เด็กญี่ปุ่นเริ่มเชื่อมโยง "ความฉลาด" เป็นคุณลักษณะของผู้ชายช้ากว่าเด็กในสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ในอันดับ 27 ในรายงาน World Economic Forum การศึกษาอื่นๆ แสดงให้เห็นว่า เด็กอเมริกันส่วนใหญ่เริ่มทำอย่างนั้นเมื่ออายุ 6 ขวบ

ซึ่งทัศนคติของผู้ปกครองดูเหมือนจะไม่ส่งผลต่อการตอบสนองของเด็กเกี่ยวกับความฉลาดในการศึกษานี้ 

ด้านทีมนั้นคาดการณ์ว่า เหตุผลหนึ่งที่อาจเป็นได้คือพ่อแม่ชาวญี่ปุ่นไม่ได้เลี้ยงลูกโดยอาศัยความสามารถทางเพศในอุดมคติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความฉลาดทางปัญญา จนกว่าลูกจะอยู่ในวัยเรียน ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับทัศนคติทางเพศของผู้ปกครองที่มีต่อเด็กโตต่อไป

ขณะที่ ยูซุเกะ โมริกูชิ รองศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยเกียวโต ที่มีส่วนร่วมในงานวิจัยนี้ กล่าวว่า คำพูดที่ไม่เหมาะสมจากผู้ปกครองและนักการศึกษาอาจส่งผลต่อความคิดของเด็กได้ และเขาต้องการลดข้อสันนิษฐานเรื่องเพศด้วยการค้นหาที่มาของแนวคิดนี้