Skip to main content

วิริญจน์ หุตะสังกาศ

 

ช่วงที่ผ่านมานี้ ผู้เขียนสังเกตว่าคนรอบตัวหลายคนสูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รัก และการสูญเสียดังกล่าวกระทบสุขภาพจิตและพฤติกรรมของคนเหล่านี้มาก 

ขนาดผู้ใหญ่ที่เข้าใจความตายแล้วก็ยังรับมือกับการจากลาชั่วชีวิตได้ยาก แล้วเด็กจะรับมือด้วยตนเองได้อย่างไร

แน่นอนว่า ผู้ที่ต้องแจ้งข่าวร้ายให้เด็กทราบคือผู้ใหญ่ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด แนะนำให้พูดคุยกับเด็กอย่างตรงไปตรงมา แต่เลือกใช้คำที่ง่าย เช่น

“คุณยายเสียชีวิตแล้วจ้ะ คุณยายจากไปแล้ว ไม่กลับมาหาเราแล้วนะ ร่างกายของคุณยายหยุดทำงานไปแล้วจ้ะ”

อ่านดูแล้ว หลายคนคงคิดเหมือนผู้เขียนว่า “พูดออกมาจริงๆ ยากจัง” 

ถ้าผู้ปกครองหรือคุณครูต้องการหาตัวช่วยในการอธิบาย รู้ไหมว่า "หนังสือภาพ" สามารถช่วยให้เด็กๆ เข้าใจสถานการณ์อันน่าเศร้าเหล่านี้ได้ เมื่ออ่านหนังสือเหล่านี้ด้วยกัน ผู้ใหญ่ก็ชวนเด็ก ๆ พูดถึงเหตุการณ์จริง โดยใช้เหตุการณ์ในหนังสือเป็นตัวอย่าง และหนังสือภาพหลายเรื่องยังมอบแนวทางในการช่วยเด็ก ๆ รับมือกับความสูญเสียไว้ด้วย

บทความนี้จึงรวบรวมหนังสือภาพที่จะเป็นผู้ช่วยของผู้ใหญ่ในยามจำเป็นมาให้พิจารณากัน



"ตุ๊กตาของลูก" ของ ปรีดา ปัญญาจันทร์ (สสส.)

 

 

หนังสือเล่มนี้บอกกับเด็กๆ ว่า แม้บุคคลอันเป็นที่รักของเราจะไม่อยู่แล้ว แต่ความทรงจำที่มีร่วมกันยังคงอยู่เสมอ สิ่งของที่คนผู้นั้นมอบให้ ภาพที่ถ่ายด้วยกัน สถานที่ที่เคยไปด้วยกัน

 

หนังสือภาพของครูปรีดาที่ใช้ภาพและถ้อยคำแสนเรียบง่ายเล่มนี้ ไม่มีภาพตัวละครคุณแม่ผู้จากไปโผล่มาเลย

เรารู้เพียงว่า คุณแม่ได้ทิ้งตุ๊กตาไว้ให้ลูกสาว และตุ๊กตาตัวนี้กลายเป็นตัวแทนของคุณแม่ในยามเหงาและคิดถึง แล้วก็เป็นสื่อกลางระหว่างหัวใจของแม่และลูกอีกด้วย

 

 

 

 

 

หนังสือเล่มนี้บอกกับเด็กๆ ว่า แม้บุคคลอันเป็นที่รักของเราจะไม่อยู่แล้ว แต่ความทรงจำที่มีร่วมกันยังคงอยู่เสมอ สิ่งของที่คนผู้นั้นมอบให้ ภาพที่ถ่ายด้วยกัน สถานที่ที่เคยไปด้วยกัน

สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่และพาเราย้อนเวลากลับไปนึกถึงช่วงเวลาดีๆ ที่ได้ใช้กับคนที่เรารักได้

เมื่อความทรงจำเป็นสิ่งที่มีค่า ผู้ใหญ่อาจจะชวนเด็กๆ เก็บของต่างหน้าของผู้จากไปไว้สักชิ้น เพื่อให้ได้ระลึกถึงและคิดถึงในวันข้างหน้า

 

"ยายจ๋ากลับมานะ" ของ ซู ลิมบ์ และ เกรกัวร์ มาบีร์ (สำนักพิมพ์คิดบวก)

 

 

คำตอบเหล่านี้ไม่มีข้อใดผิดหรือถูก แต่เป็นการยกตัวอย่างคำอธิบายที่ปลอบประโลมว่า คุณยายแค่เปลี่ยนที่อยู่ แต่เป็นที่ที่เราไปหาคุณยายไม่ได้เท่านั้นเอง และปิดท้ายด้วยฉากที่เบซซี่โตขึ้น ยังคิดถึงคุณยายในบางครั้ง 

 

หนังสือภาพเล่มนี้นำเสนอความสัมพันธ์ของคุณยายและหลานสาวที่สนิทกันมาก

ช่วงต้นเรื่องเล่าถึงกิจกรรมต่างๆ ที่สองยายหลานทำด้วยกัน แล้วเมื่อพลิกหน้าหนึ่ง ก็พบว่า คุณยายป่วยและจากไปแล้ว (ผู้อ่านก็ไม่ได้เตรียมใจถึงการจากไปอย่างกะทันหันของตัวละครเหมือนกันนะ)

ถ้อยคำสั้นๆ ที่เขียนว่า "แต่แล้ววันหนึ่ง คุณยายล้มป่วยและจากเบซซี่ไป" ทำให้โทนของเรื่องเปลี่ยนไปทันที จากความสนุกสนาน กลายเป็นความเหงาและการตามหาคำตอบ

 

 

 

 

 

หนังสือเล่มนี้พูดถึงความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายไว้สามข้อ

คุณแม่บอกว่า "คุณยายอยู่บนสวรรค์"
คุณพ่อบอกว่า "คุณยายกลายเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ"
เพื่อนบอกว่า "คุณยายอาจจะเกิดใหม่แล้วก็ได้นะ"

คำตอบเหล่านี้ไม่มีข้อใดผิดหรือถูก แต่เป็นการยกตัวอย่างคำอธิบายที่ปลอบประโลมว่า คุณยายแค่เปลี่ยนที่อยู่ แต่เป็นที่ที่เราไปหาคุณยายไม่ได้เท่านั้นเอง และปิดท้ายด้วยฉากที่เบซซี่โตขึ้น ยังคิดถึงคุณยายในบางครั้ง 

ซึ่งนี่คือคำอธิบายที่สมจริงที่สุดสำหรับผู้อ่าน คือ "แล้วเวลาจะเยียวยาหัวใจของเด็กๆ เอง"

 

 

"ใครปลอมตัวเป็นยายฉัน" ของ กลมชนก (สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์คิดดี้)

 

 

ผู้อ่านทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวและเห็นใจผู้ป่วย ว่าคุณยายไม่ได้อยากเป็นหมาป่าใจร้ายที่คอยดุเด็กๆ เลย แต่อาการป่วยทำให้คุณยายจำหลานไม่ได้รวมถึงควบคุมอารมณ์ลำบากอีกด้วย

 

หนังสือภาพเล่มนี้ใช้ภาพน่ารักที่สุดอธิบายเรื่องจริงจังอย่าง "โรคสมองเสื่อมในวัยชรา" และการเสียชีวิตของคุณยายซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคดังกล่าว

อาการของคุณยายค่อยๆ รุนแรงขึ้น จากช่วงต้นเรื่องลืมเพียงสิ่งของ แต่ต่อมาก็ลืมกระทั่งลูกหลานของตน จนในที่สุดก็ลืมไปแล้วว่าตนเป็นใครกันแน่

 

 

 

 

ในประเด็นของการอธิบายอาการผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมนี้ ผู้อ่านทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวและเห็นใจผู้ป่วย ว่าคุณยายไม่ได้อยากเป็นหมาป่าใจร้ายที่คอยดุเด็กๆ เลย แต่อาการป่วยทำให้คุณยายจำหลานไม่ได้รวมถึงควบคุมอารมณ์ลำบากอีกด้วย

เมื่อหนังสืออธิบายอาการของคุณยายแล้ว ก็ปล่อยให้ตัวละครคุณยายหลับไป หลานสาวที่เข้าใจอาการของคุณยายดีแล้วก็เฝ้ารอให้คุณยายตื่นมาเล่นด้วยกันอีกครั้ง

แต่ชีวิตก็ไม่เป็นดั่งหวังเสมอไป คุณยายหายไปพร้อมข้าวของต่างๆ และหนังสือก็จบลงเพียงเท่านี้
จะเห็นว่าหลานน้อยไม่ได้เตรียมใจไว้เลยว่าคุณยายจะหายไป ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับคนรอบตัวของผู้อ่านได้สักวันเช่นกัน

 

 

"Duck, Death and the Tulip" ของ Wolf Erlbruch (สำนักพิมพ์ Gecko Press)

 

 

หนังสือภาพเล่มนี้จึงเหมาะกับเด็กๆ ที่เริ่มโตพอจะเข้าใจชีวิตและความตายแล้ว แต่ใช้หนังสือเล่มนี้ปลอบประโลมว่าความตายเกิดขึ้นกับเราได้ทุกเมื่อ เพราะมันอยู่ข้างตัวเราตลอดเวลา

 

หนังสือเล่มนี้โด่งดังไปทั่วโลก เพราะเป็นหนังสือภาพเล่มแรกๆ ที่พูดถึงความตายในเชิงปรัชญา จึงอาจต้องใช้เวลาในการอ่านและค่อยๆ ซึมซับพอสมควร

เนื้อเรื่องเริ่มจากเป็ดตัวหนึ่งสังเกตเห็นความตายมายืนใกล้ๆ ตนเอง ก็ตกใจว่าถึงเวลาที่ตนต้องจากโลกนี้ไปแล้ว

แต่ความตายบอกว่า เขาอยู่ใกล้ๆ เป็ดมาโดยตลอด แต่เป็ดไม่ทันสังเกตเอง

เป็ดชวนความตายไปทำเรื่องสนุกๆ ด้วยกันมากมาย ตื่นมาก็พบว่าตัวเองยังไม่ตาย ก็พาความตายไปเล่นสนุกอีก

 

 

จนวันหนึ่งเป็ดก็นอนหลับไปเฉยๆ ความตายจึงอุ้มเป็ดไปยังแม่น้ำ วางดอกทิวลิปลงบนร่างเป็ด และปล่อยให้ร่างของเพื่อนลอยไปตามน้ำโดยไม่หวนกลับมา

หนังสือภาพเล่มนี้จึงเหมาะกับเด็กๆ ที่เริ่มโตพอจะเข้าใจชีวิตและความตายแล้ว แต่ใช้หนังสือเล่มนี้ปลอบประโลมว่าความตายเกิดขึ้นกับเราได้ทุกเมื่อ เพราะมันอยู่ข้างตัวเราตลอดเวลา

ความตายเป็นเรื่องใกล้ตัวแต่ละเอียดอ่อน หากผู้ใหญ่ไม่รู้จะบอกเด็กๆ อย่างไร
ก็ใช้หนังสือภาพเป็นเครื่องมือทำให้เด็กทั้งเข้าใจและค่อยๆ ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ไปด้วยกัน

 


อ่านบทความอื่นๆ ของผู้เขียน

หนังสือภาพสำหรับเด็ก : หนังสือภาพสำหรับทุกคน
สิ่งแวดล้อมและหนังสือภาพ
ในวันที่โลกโหดร้าย ยังมี 'หนังสือภาพ' เยียวยาหัวใจ
‘ชุมชนหนังสือภาพ’ แห่งเมืองเชียงใหม่