Skip to main content

ปัจจุบัน หลายประเทศทั่วโลกเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงวัย” เต็มตัว รวมทั้งประเทศไทย ข้อมูลจากหน่วยงานวิจัยอิสระด้านประชากรและคุณภาพชีวิต Population Reference Bureau (PRB) ในสหรัฐ จัดอันดับ 50 ประเทศที่มีจำนวนประชากรสูงวัยอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป

เอเชียและยุโรปเป็นที่ที่ประชากรสูงอายุเป็นสัดส่วนสูงที่สุดของโลก โดยญี่ปุ่นมีสัดส่วนประชากรอายุมากกว่า 65 ปีถึงร้อยละ 28, รองลงมาคือ อิตาลี ร้อยละ 23, ฟินแลนด์ โปรตุเกส กรีซ มีสัดส่วนประชากรดังกล่าวใกล้เคียงกันที่ประมาณร้อยละ 22

10 อันดับแรกของประเทศที่มีจำนวนประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากที่สุด อันดับ 1 จีน 166.37 ล้านคน, อันดับ 2 อินเดีย 84.9 ล้านคน, อันดับ 3สหรัฐอเมริกา 52.76 ล้านคน, อันดับ 4 ญี่ปุ่น 35.58 ล้านคน

อันดับ 5 รัสเซีย 21.42 ล้านคน, อันดับ 6 บราซิล 17.79 ล้านคน, อันดับ 7 เยอรมนี 17.78 ล้านคน, อันดับ 8 อินโดนีเซีย 15.16 ล้านคน, อันดับ 9 อิตาลี 13.76 ล้านคน และอันดับ 10 ฝรั่งเศส 13.16 ล้านคน

สำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน ไทย อยู่ในอันดับที่ 17, เวียดนาม อันดับที่ 21, ฟิลปปินส์ อันดับที่ 23 และมาเลเซีย อันดับที่ 45

อันดับประเทศที่มีประชากรสูงวัยมากที่สุดในโลก