เวทีคุยเรื่องถนน เรื่อง 'ไรเดอร์ไปต่อไม่รอแล้วนะ' จัดโดย สสส. ผ่านแผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) อัจฉรา บัวสมบูรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายผลิตรายการ จส.100 กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เกิดอาชีพคนขี่ไรเดอร์เพิ่มมากขึ้น จส.00 จะได้รับแจ้งถึงอุบัติเหตุและพฤติกรรมในการขี่รถจักรยานยนต์เพิ่มมากขึ้น ยิ่งในช่วงหน้าฝน ทั้งนี้ส่วนตัวเห็นว่าการช่วยลดอุบัติเหตุได้ หากมีฝนตก ไม่ควรโทรสั่งของให้ไรเดอร์มาส่ง แต่ในภาพรวมพบว่าอุบัติเหตุในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นมาก และเกิดขึ้นกับทุกบริษัทไม่ได้เฉพาะที่ใดที่หนึ่ง
"เมื่อเกิดเหตุมักจะมีคนประสานเข้ามา ขอภาพกล้องวิดีโอบันทึกเหตุการณ์ พฤติกรรมการขับขี่เป็นสาเหตุหลัก ในการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ฝ่าไฟแดง ขับสวนทาง ขับในช่องทางพิเศษ ที่ไม่ให้ จยย. ขับ รวมไปถึงประสบการณ์ขับขี่ โดยเฉพาะในกลุ่มนักขับอายุน้อย ในกลุ่มไรเดอร์เคสที่รุนแรงถึงชีวิต มักจะชนรถใหญ่ เช่น รถเมล์ที่จอดตามป้าย เนื่องจากไรเดอร์ไม่ชินเส้นทาง ต้องก้มมองแผนที่ระหว่างขับขี่" อัจฉรา กล่าว
นพ.วิทยา ผู้เชี่ยวชาญในคณะที่ปรึกษาขององค์การอนามัยโลก ด้านการป้องกันการบาดเจ็บ และประธาน สอจร. กล่าวว่า ไม่ชินเส้นทาง ต้องก้มมองมือถืออย่างต่อเนื่อง ไม่รู้จักเส้นทาง บาวคนทำผิดกฎจราจรทุกอย่าง สวนทาง มีโอกาสได้ร่วมวงพูดคุยกับผู้บริหารไรเดอร์ บอกว่าเป็นการรับผิดชอบส่วนตัว ทำให้คนขี่ไม่ถูกควบคุมโดยกฎระเบียบอะไร ถือเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ได้ถูกจัดระเบียบให้อยู่ในระบบ เมื่อรับออเดอร์ไปส่ง รับเงินค่าจ้าง นอกนั้นรับผิดชอบตัวเอง จึงเป็นปัญหาใหญ่เชิงระบบ ระบบควบคุมไปไม่ถึง ให้เกิดพฤติกรรมในการขี่รถ
นพ.วิทยา กล่าวว่า ไรเดอร์ก็เหมือนอาชีพขับรถยนต์อื่นๆ เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ต้องร่วมรับผิดชอบ ดังนั้นทุกเหตุที่เกิดขึ้นสามารถป้องกันได้ทุกอย่าง ขาดระบบที่ดีพอที่จะควบคุมได้ อย่าคิดว่าไรเดอร์ทำไม่ดีด้วยตัวเองเพียงฝ่ายเดียว ต้องเปลี่ยนหลักคิดว่าจะช่วยกันอย่างไรที่ไม่ให้เกิดบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ต้องช่วยคิดให้เขามีสุขภาพดี ดูแลครอบครัวได้ ดังนั้นการบังคับกฎหมายต้องเข้มงวด เช่น การฝ่าไฟแดง การตรวจจับความเร็ว ขณะที่ผู้ประกอบการต้องมีส่วนร่วมด้วย ต้องคิดว่าเขาเป็นสมาชิกบริษัท จัดให้มีสวัสดิการเรื่องการดูแลสุขภาพ อุบัติเหตุ
นพ.วิทยา กล่าวว่า กรมการขนส่งทางบก มีส่วนสำคัญในการจัดระเบียบการให้บริการ จัดการอบรมให้รู้ระเบียบการทำงาน ให้รู้ถึงความปลอดภัยในการขี่ ที่สำคัญคือสื่อช่วยประชาสัมพันธ์ให้เห็นความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย ทั้งนี้พฤติกรรมของลูกค้าเอง ทำให้เกิดความเสี่ยงเช่นกัน เช่น สั่งของในพื้นที่ไกลๆ สั่งของไม่รับเพราะเห็นว่ามาส่งช้า ซึ่งเรื่องแบบนี้ทำให้เกิดอารมณ์เครียด อารมณ์โกรธ ส่งผลต่อการขับขี่ด้วย ขณะเดียวกันถ้าให้รางวัลกับผู้ที่ทำดี หรือ ตักเตือน จะเป็นแรงกระตุ้นและเสียงสะท้อนที่ทำให้เกิดความตระหนักได้
นพ.วิทยา กล่าวว่า ขณะนี้ต้องตระหนักอยู่ในใจว่าอย่าเป็นอะไร เพราะการรักษาจะลำบากมากในสถานการณ์โควิด-19 เนื่องจากที่ทราบกันอยู่แล้วว่าเตียงรักษาไม่เพียงพอ และอาจเกิดความเสี่ยงต่อการติดโรคได้ ซึ่งกลุ่มอายุ 15-20 ปี เป็นกลุ่มคนเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด โดยจากการเก็บเกือบจะร้อยทั้งร้อยไม่คิดว่าจะเกิดอุบัติเหตุ จึงขับไปด้วยความคึกคะนอง ที่สำคัญสุขภาพของคนขี่รถเช่นกัน ต้องไม่เป็นโรคที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการขี่ เช่น ลมชัก ต้องดูแลตรงนี้ด้วย ปัจจัยอีกเรื่องคือการเร่งรับของจากลูกค้า ยอมรับว่าอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสี่ยงได้ ดังนั้นควรมีเรื่องการควบคุมความเร็วเข้ามาแก้ปัญหาในเรื่องนี้
ตัวอย่างข้อมูลการบาดเจ็บที่น่าสนใจ เก็บรวบรวมโดย รพ.อุดรธานี (เนื่องจากสถิติอุบัติเหตุไรเดอร์ จากหน่วยงานรัฐยังไม่เคยมีการรวบรวม และเผยแพร่อย่างเป็นทางการ) เปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี พบว่า ในปี 2564 ตั้งแต่ ม.ค. - วันที่ 26 ก.ค. มีผู้บาดเจ็บจากมอเตอร์ไซค์ รวมมากถึง 6,163 คน ในจำนวนนี้เป็นไรเดอร์ 110 คน ขณะที่ทั้งปี 2563 มีผู้บาดเจ็บรวม 6,649 คน เป็นไรเดอร์ 61 คน ส่วนในปี 2562 มีผู้บาดเจ็บรวม 6,432 คน เป็นไรเดอร์ 44 คน