Skip to main content

ในการเสวนาโต๊ะกลม “การขับเคลื่อนมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนนในนิคมอุตสาหกรรมและสถานประกอบการในภาคตะวันออก” จัดโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ แผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจร (สอจร.) 

นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ประธานแผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจร (สอจร.) กล่าวว่า สาระสำคัญของการประชุมเป็นการปรึกษาหารือเพื่อหากลวิธีดำเนินมาตรการองค์กรความปลอดภัยทางถนน ในส่วนของภาคตะวันออกเป็นพื้นที่สีแดงในเรื่องของอุบัติเหตุทางถนน มีการเสียชีวิต และบาดเจ็บ พิการ รุนแรงในประเทศไทย เนื่องจากมีประชากรเดิม มีนิคมอุตสาหกรรม สถานประกอบการมากที่สุดในประเทศ อีสเทอร์ซีบอร์ด  

แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ตั้งแต่ ชลบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด ที่คนไทยและต่างประเทศต้องมาแวะเที่ยว คนที่เข้ามาในพื้นที่มีจำนวนมาก ทำให้เป็นปัจจัยหนึ่งในการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ซึ่งพวกเราต้องเอาใจใส่มากกว่าพื้นที่อื่น เพื่อให้เป็นพื้นที่ที่มาอยู่อาศัย มาท่องเที่ยวปลอดภัย ประทับใจต่อทุกคน 

ข้อมูลของบริษัทกลางฯ แหล่งเดียว รายงานใน ThaiRSC ที่นำเสนอแบบเป็นปัจจุบัน ตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 คนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากกว่าปี 2564 มา 7 เดือนต่อเนื่อง ช่วงนี้เป็นช่วงท่องเที่ยวทั้งทำบุญ ท่องเที่ยว เปิดประเทศ ตั้งแต่พฤศจิกายนไปถึงธันวาคม ส่วนใหญ่เป็นรถจักรยานยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุยอดรวม 12,000 คนมากกว่าปี 2564 ไปแล้ว ฉะนั้นเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง ถ้าเทียบกับ 3 ฐานอาจจะไปถึง 15,000 คน

ทำไมเราถึงมุ่งเป้านิคมอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการ ข้อมูลสถิติ บ่งชี้ผู้ใช้แรงงานเป้นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด และมีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2553 มีแนวโน้มในกลุ่มผู้ใช้แรงงานสู.ขึ้นและมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 และเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานมีรายได้น้อยพาหนะหลักจึงใช้จักรยานยนต์ในการเดินทางและไม่แปลกใจทำไมคนกลุ่มนี้ถึงบาดเจ็บมาก ข้อมูลจาก IHPP พบว่าคนบาดเจ็บที่ไม่สวมหมวกนิรภัยมีแนวโน้มสูงขึ้น และคนที่เป็นคนขับและดื่มแอลกอฮอล์ก็สูงขึ้นทำให้การบาดเจ็บเสียชีวิต ใส่หมวกน้อย ดื่มขับมากขึ้น พฤติกรรมเสี่ยงเลวร้ายลง ความปลอดภัยทางถนนเป็นภารกิจที่ยังไม่เสร็จสิ้น ดำเนินการมากว่า 30 ปี มีคนตายกว่าปีละเกือบ 2 หมื่น เป็นภัยร้ายแรงต่อความมั่นคงเพราะเสียกำลังแรงงาน ไม่รวมคนที่เป็นผู้พิการ สูญเสียคนที่ต้องมาดูแลครอบครัว มาแรงงานที่มีฝีมือ อนาคต จะเป็นอย่างไร ในแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนนต้องการลดการสูญเสียให้เหลือ 12 ต่อแสนประชากรแสนคนหรือ 8 พันรายในปี 2570 และมีการระบุเป้าหมายในระดับจังหวัด และมีภาคีต่างๆ 

โดยเฉพาะสสส. ที่มีหลายแผนในการขับเคลื่อนทั้งภาคนโยบาย ประชาสังคม สอจร.จะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ และศปถ.ประเทศและจังหวัด ทั้งเรื่องคน รถ ถนน ตอบสนองหลังเกิดเหตุ มีองคาพยพหลายยภาคส่วน แต่การลดความสูญเสียยังไม่สำเร็จ สสส.ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่มุ่งเป้า จักรยานยนต์ ไม่ขับรถเร็ว เมาไม่ขับ ถนนติดดาว มาตรการองค์กร เด็กและเยาวชน การสื่อสารสาธารณะ การพัฒนาระบบข้อมูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประธานศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนได้มีหนังสือสั่งการให้ส่วนราชการทุกแห่ง นิคมอุตสาหกรรม และสถานประกอบการมีมาตรการองค์กร และประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขว้าง เกิดการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ถ้าคนไทยทุกคนใส่หมวกนิรภัยทุกคน จะลดการตายได้ 5,000 คนและบาดเจ็บ 300,000 คน พลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ ประธานคณะกรรมการนโยบายป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ได้มีข้อสั่งการ 25 ต.ค. 65 ให้เร่งรัดการสวมหมวกนิรภัย 100% กวดขันวินัยจราจร เมาไม่สวมหมวกนิรภัย วิเคราะห์อำเภอเสี่ยง ตั้งด่านกวดขันวินัยจราจรให้ทุกจังหวัดดำเนินการ

เรื่องของมาตรการองค์กร ที่ ศปถ.ได้สั่งการลงมา คืออะไร ทำอย่างไรให้สำเร็จ มาตรการองค์กรคือมาตรการที่หน่วยงาน ทุกองค์กร ให้บุคลากรต้องประกาศให้พนักงานสวมหมวกนิรภัย ไม่ดื่มแล้วขับ ไม่ง่วงแล้วขับ เป็นมาตรการที่ควบคุมให้ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงในองค์กร เป็นแผนงานที่ทำให้ภาคีทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ไม่ใช่ภาระของภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วม แผนงานนี้จึงเป็นแผนงานสำคัญ เพราะตำรวจเองไม่สามารถตรวจจับ เข้มงวดทุกวัน ทุกเวลา เราต้องดูแลคนของเรา มาตรการองค์กรต้องผนวก กับแผนงงานของบริษัท ไม่ใช่แค่ประกาศ ทำ MOU แต่ต้องทำเป็นมาตรการจริงจัง ทั้งในเวลา และนอกเวลา มีข้อมูลชัดเจนว่าพนักงานเสียชีวิตในสถานประกอบการเพียงนิดเดียว แต่ตายข้างนอกเป็น 100 เท่า 

ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสูญเสียของบริษัท ปัจจัยความสำเร็จคือผุ้บริหารสำคัญที่สุด ผุ้จัดการ ของนิคม สถานประกอบการ ต้องมีความห่วงใยในบริวาร ให้การสนับสนุนดำเนินการ โดยแต่งตั้ง ให้มีจปถ.ในองค์กร หรือทีมที่มาดูแลในเรื่องความปลอดภัยในองค์กรที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยทางถนน โดยมีหลายฝ่ายร่วมเป็นคณะทำงาน รวมทั้งครอบคลุมทุกกระบวนการ ทั้งจัดการพื้นที่ให้ปลอดภัย ยานพาหนะ มีการดูแลอย่างเหมาะสม มีการเปลี่ยนแผนสู่การปฏิบัติ มีการจัดการข้อมูลเพื่อติดตามการทำงาน การตายลดลงหรือไม่ สวมหมวกนิรภัยมากขึ้นหรือไม่ คนภายนอกเสริมการดำเนินแต่ไม่สามารถขับเคลื่อนให้เกิดได้จริงถ้าคนข้างในไม่ขับเคลื่อนให้เกิดความั่งยืน ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนที่ทำได้สำเร็จในระดับนิคมอุตสาหกรรมต้องผลักดันให้เกิดการขยายผล เช่น อมตะนคร นิคมอุตสาหกรรมจ.ลำพูน ได้นำเสนอในเวทีวุฒิสภา และได้รับเรื่องของมาตรการองค์กรไปขยายผลต่อ คุณทศพล ได้ไปนำเสนอเอง เป็นตัวอย่างที่ดี ที่นิคมอุตสาหกรรมสามารถทำได้เหมือนกัน 

ภารกิจวันนี้เป็นการป้องกันกำลังพลของประเทศ และหน่วยงานที่จะช่วยให้ประเทศต่อสู่วิกฤต ประเทศไทยเป้นสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์ (30%) ทุกวันนี้คนหนุ่มสาวลดลง ที่ต้องดูแลผู้สูงอายุ 3:1 เราจะสูญเสียคนที่ต้องดูแลผู้สูงอายุและบ้านเมืองไป เป็นเรื่องน่าเศร้าใจ และน่าหดหู่ อนาคต 10 ปี เราจะหาแรงงานไม่ได้ สุดท้ายขอฝากการรักษาชีวิตคนให้อยู่รอดปลอดภัยเป็นการสร้างบุญกุศลที่ต้องแข่งกับเวลา ต่อเนื่อง และทันการณ์ วันนี้มีคนตาย 70 คน พรุ่งนี้อีกหลายสิบคน เมื่อเรารู้ว่าจะมีคนตายต้องรีบเพื่อรักษาชีวิต และไม่ปล่อยเวลาให้สูญเสียไป ผู้บริหารมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการดูแลบริวารที่มาทำงาน และหาเงินเลี้ยงครอบครัว และเป็นบุญกุศลร่วมกัน


ด้าน ผศ.ดร.ดนุลดา จามจุรี อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) และหัวหน้า สอจร.ภาคตะวันออก กล่าวว่า การผลักดันมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนน ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมและสถานประกอบการในภาคตะวันออก เป็นหัวใจสำคัญในการลดอุบัติเหตุ ผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิต จากอุบัติเหตุทางถนนให้ลดน้อยลงได้ เนื่องจากภาคตะวันออกมีนิคมอุตสาหกรรม และสถานประกอบการจำนวนมาก
 
จากการดำเนินงานที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2560 ทำให้วันนี้เรามีทั้งพันธมิตรเก่าและใหม่ ที่เข้ามาร่วมกันเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน การจัดเวทีสร้างความเข้าใจระหว่างภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม และสถานประกอบการต่างๆ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการกำหนดทิศทาง และเชื่อมโยงการทำงานระหว่างเครือข่าย พราะในนิคมอุตสาหกรรมและสถานประกอบ การมีคนในความดูแลจำนวนมาก ครอบคลุมจำนวนแรงงาน และประชากรโดยรอบหลายแสนคน หากเราดำเนินการได้ทันและมีประสิทธิภาพ จะลดคนบาดเจ็บและเสียชีวิตได้อีกมาก

“การบาดเจ็บภายนอกโรงงานโดยเฉพาะจากอุบัติเหตุทางถนน จำเป็นต้องทำอย่างครอบคลุมในทุกๆ ด้าน แต่เดิมเราจะพูดเรื่องเมาไม่ขับ ขับไม่เร็ว ซึ่งทุกที่ดำเนินการมาเต็มที่แล้ว ดังนั้นในระยะต่อไปเราจะมุ่งเน้นการจัดการรถบรรทุกขนส่งสินค้า การแก้ปัญหาการชนท้ายรถบรรทุก การแก้ปัญหาการจอดริมทาง การแก้จุดเสี่ยงรอบโรงงานสถานประกอบการ และสุดท้ายคือการเชื่อมโยงข้อมูลความปลอดภัยในนิคมอุตสาหกรรม กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด และผนวกรวมทั่วประเทศต่อไป” ผศ.ดร.ดนุลดา กล่าว

ขณะที่ รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้แทนจาก สสส. ระบุว่า มาตรการองค์กรเป็นงานที่ต้องประสานการทำงานกับทุกภาคส่วนต้องใช้พลังงานมาก แต่ความสำเร็จเป็นสิ่งที่คุ้มค่าต่อการลงทุนลงแรง เดิมเราทำปรับพฤติกรรมเสี่ยง แต่ภายหลังเราใช้กลไกของศปถ.เข้ามาช่วยขับเคลื่อนให้ไกลมากขึ้น สสส.ยังเห็นว่ามาตรการองค์กรเป็นงานที่สำคัญ และทุกภาคส่วนมาร่วมดำเนินการ และขับเคลื่อนในอีกหลายหน่วยงานที่สามารถดำเนินการมาตรการองค์กรได้ ตำรวจก็จะได้เบาแรง เพราะตำรวจมีภาระงานที่สูง และเป็นการทำงานที่ไม่ต้องรอให้เกิดการสูญเสีย