Skip to main content

การระบาดของโควิด-19 จากคลัสเตอร์ทองหล่อทำให้มีคนตัดสินใจไปตรวจโรคกันจำนวนมาก จนหลายโรงพยาบาลในกทม. ประกาศงดตรวจชั่วคราว เพราะชุดอุปกรณ์การตรวจโรคหมด ขณะเดียวกันโรงพยาบาลก็แทบไม่เหลือเตียงรองรับผู้ป่วยอีกแล้ว ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นปัญหาที่เกิดจากนโยบายที่มาจากกระทรวงสาธารณสุขเอง

จากเอกสารเผยแพร่ “แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สาหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข โดยคณะทํางานดานการรักษาพยาบาลและการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสขุ ร่วมกับ คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ จากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลยต่างๆ (คณะกรรมการกํากับดูแลรักษาโควิด-19) ฉบับปรับปรุง วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564” ระบุไว้ว่า เมื่อพบเชื้อแล้วให้รับไว้ในโรงพยาบาล

แนวทางฯ เขียนว่า เมื่อตรวจพบเชื้อแล้ว ให้ปฏิบัติ 3 ข้อดังนี้

1) รับไว้ในโรงพยาบาล ใน single isolation room หรือ cohort ward (ที่มีเฉพาะผู้ป่วยยืนยัน) มีระยะห่างระหว่าง เตียงอย่างน้อย 1 เมตร
2) กรณีอาการรุนแรง หรือต้องทํา aerosol generating procedure ให้เข้า AIIR 
3) ให้การรักษาตามแนวทางการดูแลรักษา

ปัญหาเตียงผู้ป่วยมีไม่เพียงพอไม่ได้เพิ่งเกิดแค่ในไทยเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่หลายประเทศเผชิญมาแล้วตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดในปี 2563 แต่นโยบายจากกระทรวงสาธารณสุขของหลายประเทศแตกต่างจากของไทยอย่างมาก โดยส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ, อินเดีย, สิงคโปร์, จะเน้นไปที่การสื่อสารกับประชาชนไม่ให้ตื่นตระหนก และไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล หากอาการไม่ร้ายแรง

หากผลยืนยันว่าติดโควิด-19 แต่ไม่มีอาการใดๆ ให้กักตัวอยู่บ้านเป็นเวลา 10 นับตั้งแต่ได้รับผลตรวจ ตามแนวทางของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) แต่หากผลตรวจออกมาว่าติดโรคหลังจากมีอาการไอ เจ็บคอ หรือมีไข้ ให้เริ่มนับวันกักตัวตั้งแต่วันที่เริ่มมีอาการ

อาการทั่วไป เช่น ปวดหัว คัดจมูก ไอแห้ง ปวดเมื่อยตามตัว ไม่รับรสหรือกลิ่น ยังไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ให้พักผ่อนอยู่บ้าน ดื่มน้ำเยอะๆ แต่ให้เฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดว่ารุนแรงขึ้นหรือไม่ หากไปโรงพยาบาล เพราะติดโควิด-19 แต่ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่รุนแรง โรงพยาบาลก็จะให้กลับไปพักที่บ้านอยู่ดี เพื่อลดการแออัดที่โรงพยาบาล

หากอาการรุนแรงขึ้นให้โทรเรียกรถฉุกเฉินไปโรงพยาบาลได้ทันที ไม่จำเป็นว่าต้องป่วยมากี่วันแล้ว โดยอาการรุนแรง ได้แก่ หายใจไม่ออก เจ็บหน้าอก ปากม่วง มึนงง ไม่สามารถกินอาหารหรือดื่มน้ำได้เลย อ่อนเพลีย หรือไม่สามารถครองสติให้ตื่นได้ หากมีเครื่องวัดออกซิเจนในเลือดอยู่ที่บ้านให้สังเกตว่า หากระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 94% ให้ส่งตัวเข้าห้องฉุกเฉินทันที

ที่มา

- แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ฯ

I Tested Positive for COVID-19. Now What?

What To Do If You Test Positive For The Coronavirus This Winter

COVID-19: Patients with mild symptoms may hesitate to see a doctor; experts urge public to be vigilant

Coronavirus: First Steps To Take After Testing Positive For COVID-19