นิกเกอิ เปิดงานวิจัยชิ้นล่าสุดแสดงให้เห็นว่า บริษัทในเอเชียมีกระตือรือร้นกว่าบริษัทแถบตะวันตก ที่จะเปิดสำนักงานและเรียกพนักงานเข้าทำงานเต็มเวลา หลังต้องทำงานจากทางไกลมานานกว่า 2 ปี แต่นายจ้างจำนวนมากต้องเจอกับความไม่เต็มใจและอาการต่อต้านของเหล่าพนักงาน โดยผลการศึกษาชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่าคนทำงานส่วนใหญ่ขาดความรู้สึกผูกพันกับองค์กรของตัวเองและมีแนวโน้มที่จะลาออกได้
ด้านผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า เมื่อพนักงานทบทวนลำดับความสำคัญของตัวเอง นายจ้างก็อาจจำเป็นต้องทำเช่นเดียวกันด้วย โดย Samir Bedi หัวหน้าที่ปรึกษาด้านแรงงานของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัทให้บริการ EY บอกว่าเพราะความยืดหยุ่นได้เข้ามาเป็นข้อกำหนดมาตรฐานใหม่แล้ว จึงเป็นเรื่องสำคัญที่นายจ้างจะต้องประเมินข้อเสนอให้กับพนักงานของตัวเองอีกครั้ง เพื่อจัดการกับข้อกังวลนี้ โดยเฉพาะอย่างยึ่งในเรื่องค่าตอบแทนที่แข่งขันได้ และโอกาสในการเติบโตในอาชีพ
การสำรวจของ EY ถูกตีพิมพ์เมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา พบว่า 45% ของผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระบุว่า พวกเขามีแนวโน้มที่จะออกจากงานในอีก 12 เดือนข้างหน้า เป็นผลจากความต้องการเงินเดือนที่สูงขึ้น โอกาสในการทำงานที่ดีขึ้น และความยืดหยุ่นที่มากขึ้นท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ตลาดแรงงานที่หดตัว และการยืนหยุ่นของงานที่เพิ่มขึ้น EY ยังระบุด้วยว่า การสำรวจนี้ครอบคลุมหัวหน้าานในธุรกิจกมากว่า 1,500 คน และพนักงานอีกกว่า 17,000 คนใน 22 ประเทศ
บริษัทหลายแห่งในเอเชียตั้งใจจะบังคับให้พนักงานกลับเข้าทำงานในสำนักงาน เมื่อต้นปีที่ผ่านมา CBRE บริษัทให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ สำรวจบริษัทในเอเชียแปซิฟิก 150 แห่ง พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบ 40% คาดหวังว่าพนักงานจะทำงานอย่างเต็มที่ในที่ทำงาน โดยเพิ่มขึ้นจาก 26% ในปี 2021 ซึ่งแตกต่างมากกับผลลัพธ์จากสหรัฐฯ, ยุโรป, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ที่มีเพียง 5% หรือน้อยกว่าที่คาดหวังว่าจะมีพนักงานทำงานอยู่ในออฟฟิศตลอดเวลา
Michelle Leung เจ้าหน้าที่ทรัพยากรบุคคลของบริษัทให้บริการด้านสุขภาพ Cigna International Markets ได้เน้นย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในตลาดแรงงานท่ามกลางการระบาดของโควิด ว่า หนึ่งในแนวโน้มที่ใหญ่ที่สุดที่เห็นในปี 2021 คือ การลาออกครั้งใหญ่ ที่เราได้เห็นการลาออกระดับสูงสุดตลอดกาลจากทั่วโลก แต่ปรากฎการณ์อีกอย่างคือ การสับเปลี่ยนครั้งใหญ่ ที่หมายถึงกลุ่มคนทำงานจำนวนมากที่กำหนดค่าอาชีพใหม่ และมุ่งเน้นที่งานที่เหมาะสมกับความต้องการส่วนบุคคลให้ได้มากที่สุด
Leung กล่าวต่ออีกว่า เป็นที่ชัดเจนว่ามีหลายปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดความไม่พอใจและความหงุดหงิดให้เห็นได้ ซึ่งบริษัทต่างๆ จะต้องทันกับความคาดหวังใหม่ๆ ของพนักงาน และใช้แนวทางแบบองค์รวมมากขึ้นกับประเภทผลประโยชน์ที่พวกเขามอบให้
ส่วนการวิจัยของ Cigna พบว่า แรงงานต่างชาติไม่มีภูมิต่อความไม่พอใจที่กำลังแพร่กระจายอยู่ทั่วแรงงานในภูมิภาคเอเชียนี้ จากการสำรวจคามเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนเกือบ 12,000 คนทั่วประเทศจีน, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์, อินเดีย และออสเตรเลีย พบว่า ความเครียดจากต่างชาติเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมดรู้สึกถึงอาการหมดไฟ และประเมินลำดับความสำคัญของชีวิตและการทำงานใหม่เพื่อให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น หรือเพื่อให้ได้ใกล้ชิดกับครอบครัวและเพื่อนฝูง
ส่วนผลการศึกษาที่ตีพิมพ์เมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าแรงงานต่างชาติส่วนใหญ่ที่ทำงานในยุโรปและออสเตรเลียมั่นใจว่าจะยังคงทำงานอยู่ต่างประเทศ เช่นเดียวกับเอเชีย มีเพียง 5% เท่านั้นในอินเดีย และ 16% ในจีนแผ่นดินใหญ่ที่มั่นใจว่าพวกเขาจะอยู่ต่อ
ด้านบริษัทที่ปรึกษา Accenture เปิดเผยตัวเลขที่น่าเป็นห่วงอีกชุดหนึ่งสำหรับนายจ้าง ที่สำรวจคนทำงานประมาณ 5,000 คน และผู้บริหารระดับสูง 1,000 คนในหลายประเทศพบว่า ในสถานที่ต่างๆ เช่น สิงคโปร์ อินเดีย จีน และญี่ปุ่น ผู้ตอบแบบสอบถามน้อยกว่า 4% รู้สึกผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน และบริษัทขอตนอย่างมาก
และบางคนอาจสรุปได้ว่านี่เป็นผลมาจากการหยุดชะงักของการระบาดใหญ่และการทำงานระยะไกลหลายเดือนหรือหลายปี แต่จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ทำงานในออฟฟิศจะรู้สึกว่ามีต่อติดกันน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับเพื่อนร่วมงานที่ทำงานจากระยะไกลหรือแบบผสมผสาน
Anoop Sagoo ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ Accenture บอกกับนิกเกอิ ว่า ข้อสันนิษฐานโดยทั่วไปคือสถานที่ตั้งของออฟฟิศไม่จำเป็นต่อการติดต่อสัมพันธ์กัน และในขณะที่องค์กรต่างๆ อาจมองว่าสภาพแวดล้อมในสำนักงานเป็นสิ่งที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเนื่องจากการมีส่วนร่วมในการโต้ตอบแสดงความคิดเห็นแบบเห็นหน้ากัน แต่จากการสำรรวจพบว่าพนักงานจำนวนมากไม่รู้สึกแบบนั้น สาเหตุหนึ่งเพราะพนักงานจำนวนมากที่ทำงานอยู่ในออฟฟิศจะรู้สึกว่าถูกตัดการมีปฏิสัมพันธ์ เพราะรู้สึกถูกละเลยจากหัวหน้างานหรือผู้บริหารระดับสูง
นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบอีกว่า ในบรรดาพนักงานที่สามารถทำงานจากระยะไกลได้กว่า 90% กล่าวว่า พวกเขาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกที่