Skip to main content

วิริญจน์ หุตะสังกาศ


คนไทยรู้จักนิทานพื้นบ้านตะวันตกหลายเรื่องจากหนังสือ ภาพยนตร์ และการ์ตูน ไม่ว่าจะเป็น โฉมงามกับเจ้าชายอสูร (La Belle et la Bête) ของฝรั่งเศส สโนว์ไวท์ (Schneewittchen) ของเยอรมนี และ ตำนานนักบุญฆอร์ดี (Leyenda de Sant Jordi) ของสเปน

นอกจากนิทานพื้นบ้านแล้ว วรรณกรรมเยาวชนคลาสสิกของตะวันตกก็ถูกแปลเป็นภาษาไทยมาหลายสำนวน เช่น ไฮดี้ (Heidi) และ สี่ดุรณี (Little Women) ที่แปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1930 เลยทีเดียว

แต่เมื่อนึกถึง “หนังสือภาพ” ที่มาจากยุโรปและแปลเป็นภาษาไทย ผู้อ่านชาวไทยอาจไม่คุ้นเคยนัก ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้จัด “เทศกาลเล่านิทานโลกตะวันตก” เพื่อเผยแพร่ความรู้และความสนุกจากหนังสือภาพที่แปลมาจากภาษาเยอรมัน สเปน และฝรั่งเศส โดยในปีนี้ ผู้จัดได้เลือกนิทานเยอรมันเรื่อง “ปลาสายรุ้ง” (Der Regenbogenfisch) โดย Marcus Pfister ภาษาไทยตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์อมรินทร์ แล้วจึงนำนิทานมาจัดเป็นละครโรงเล็ก พร้อมกิจกรรมศิลปะและเกมสนุก ๆ มากมาย เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม 2567 ที่ TCDC เชียงใหม่ จึงจะขอพาผู้อ่านทุกท่านไปชมบรรยากาศในงานสักเล็กน้อย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นอกจากนี้ ทางภาควิชาฯ ยังได้ผลิตคู่มือกิจกรรมประกอบการเล่านิทาน ที่มีเนื้อเรื่องของนิทานให้ผู้ปกครอง ครู หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปเล่าต่อด้วยตนเองได้เพื่อส่งเสริมให้จัดกิจกรรมในสถานที่การเรียนรู้ของตนเองได้

 

 

หากโรงเรียนใดในจังหวัดเชียงใหม่มีความประสงค์รับ "คู่มือกิจกรรม เทศกาลเล่านิทานโลกตะวันตก" (จำกัดจำนวนโรงเรียนละ 10 เล่ม เนื้อหาภายในสามารถทำซ้ำเพื่อการศึกษาได้) 

กรุณาติดต่อ อาจารย์ ดร.วิริญจน์ หุตะสังกาศ ที่ [email protected]

 

อ่านบทความอื่นๆ ของผู้เขียน