Skip to main content

งานวิจัยใหม่ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เผยว่า "ดาวหาง" อาจเป็นที่มาของ "สิ่งมีชีวิต" ทั้งปวงบนดาวเคราะห์อื่นๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะจักรวาล เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นบนโลก

นักวิทยาศาสตร์คาดว่า ดาวหางอาจนำองค์ประกอบอินทรีย์ที่สำคัญต่อการกำเนิดสิ่งมีชีวิตมายังโลก งานวิจัยเผยว่า ดาวเคราะห์อื่นนอกระบบสุริยะของเราอาจจะได้รับสิ่งเดียวกันนี้จากดาวหางด้วยเช่นกัน

ในช่วงต้นของกำเนิดโลก โลกถูกถล่มจากบรรดาดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง รวมถึงเศษซากอื่นๆ ที่หลงเหลือจากการก่อตัวของระบบสุริยะ นักวิทยาศาสตร์ยังคงถกเถียงกันถึงวิธีที่โลกเกิดน้ำและโมเลกุลที่จำเป็นต่อการก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะพุ่งความสนใจไปที่ดาวหาง

นักวิจัยจากสถาบันดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทำการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่จะช่วยแสดงว่า ดาวหางสามารถนำสิ่งมีชีวิตไปยังดาวเคราะห์อื่นในกาแล็กซีทางช้างเผือกได้

ริชาร์ด แอนสโลว์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์กล่าวว่า ทีมวิจัยกำลังเรียนรู้เกี่ยวกับชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะอย่างต่อเนื่อง และดาวหางอาจนำโมเลกุลที่ซับซ้อนมายังดาวเคราะห์ ซึ่งเป็นไปได้ว่า โมเลกุลเหล่านั้นจะนำมาซึ่งสิ่งมีชีวิตบนโลก และปรากฏการณ์นี้ควรเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันกับดาวเคราะห์อื่นๆ ในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา

ขณะนี้ งานวิจัยยังห่างไกลจากข้อสรุปที่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่น แต่การศึกษาของทีมวิจัยอาจช่วยจำกัดขอบเขตการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลกให้แคบลง

สองทศวรรษที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์เรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับโมเลกุลที่เป็นต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิต ว่าอาจมาจากดาวหาง

ในปี 2009 องค์การนาซาพบไกลซีนและกรดอะมีโนจากสะเก็ดดาวของดาวหาง Wild 2 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างโปรตีน ระหว่างปี 2014-2016 องค์การอวกาศยุโรปโมเลกุลของสารอินทรีย์จากดาวหาง 67P/Churyumov–Gerasimenko

แต่มีข้อสังเกตว่า โมเลกุลสารอินทรีย์ที่มากับดาวหางอาจเสียหายจากความเร็วและอุณหภูมิสูงขณะพุ่งชนโลก ทีมวิจัยจึงค้นหาสถานการณ์จำลองแบบอื่นของการพุ่งชนที่อาจช้าพอจะไม่ทำให้ส่วนประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตถูกทำลาย

จากการจำลองของนักวิทยาศาสตร์ พบว่าดาวหางที่พุ่งชนโลกด้วยความเร็วต่ำที่สุด อาจเกิดขึ้นได้ในระบบสุริยะที่มีดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ ซึ่งมีดาวเคราะห์หลายดวงโคจรอยู่อย่างหนาแน่น นักวิทยาศาสตร์เรียกระบบสุริยะประเภทนี้ว่า "ระบบสุริยะเมล็ดถั่วในฝัก" โดยดาวหางที่โคจรมาจากขอบนอกระบบสุริยะ จะค่อยๆ ชะลอความเร็วลงขณะพุ่งชนดาวเคราะห์เหล่านี้