Skip to main content

อาหารปนเปื้อนสิ่งแปลกปลอมและไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคร้องเรียนมากที่สุดกว่าร้อยเรื่อง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ช่วยเหลือ แก้ไข เยียวยา ให้ได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ

รายงานจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พบว่า ในแต่ละปีมีผู้บริโภคที่ได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิฯ มากกว่า 1,000 กรณี และกว่า 101 เรื่อง ของปี พ.ศ. 2564-2565  เป็นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็น สิ่งแปลกปลอม หรือสิ่งปนเปื้อนในอาหาร อาหารเสื่อมสภาพก่อนวันหมดอายุ อาหารหมดอายุ ผลิตภัณฑ์ไม่มีอย. ฯลฯ

จากเรื่องร้องเรียนด้านอาหาร จำนวน 101 เรื่อง ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2564  ถึง 4 พ.ย. 2565 มีเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุด 10 อันดับ ดังนี้ 

อันดับ 1 เจอสิ่งแปลกปลอมในอาหาร จำนวน 37 เคส
อันดับ 2 อาหารเสื่อมสภาพก่อนวันหมดอายุ จำนวน 13 เคส 
อันดับ 3 ขายอาหารหมดอายุ จำนวน 13 เคส
อันดับ 4 อาหารไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 9 เคส
อันดับ 5 อาหารมีสารปนเปื้อน จำนวน 6 เคส
อันดับ 6 ผลิตภัณฑ์ไม่มีอย. จำนวน 6 เคส
อันดับ 7 โฆษณาเกินจริง จำนวน 6 เคส
อันดับ 8 อาหารไม่ปลอดภัย จำนวน 5 เคส
อันดับ 9 ขายอาหารแพงเกินจริง จำนวน 3 เคส
อันดับ 10 อาหารไม่มีคุณภาพ จำนวน 3 เคส 

เมื่อภัยร้ายมากับอาหารจนกลายเป็นสิ่งที่ไม่ปลอดภัยต่อชีวิต ผู้บริโภค ต้องอย่านิ่งเฉยต่อสิทธิที่ต้องได้รับการเยียวยาชดเชยความเสียหาย ที่เกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพอนามัย และจิตใจเพราะสิ่งเหล่านี้อาจเป็นผลมาจากผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการไม่เข้มงวดต่อการดูแลความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ 

ที่ผ่านมา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ช่วยเหลือ แก้ไข เยียวยา ให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองตามสิทธิอย่างที่ควรจะเป็น แม้ผู้บริโภคส่วนใหญ่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการร้องเรียนหรือดำเนินคดีได้เอง แต่ประเด็นคือ ยังมีผู้บริโภคส่วนหนึ่งที่ต้องการการสนับสนุนจากเรา เช่น ค่าเดินทาง 
ค่าที่พัก ค่าดำเนินการต่าง ๆ แต่งบประมาณที่มีอย่างจำกัด ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง

ดังนั้น หากผู้บริโภค ที่พอมีกำลัง ต้องการให้ความช่วยเหลือผู้เดือดร้อนท่านอื่นๆ สามารถสนับสนุนผ่าน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ด้วยการร่วมบริจาค  ผ่านข่องทางต่อไปนี้ สนับสนุนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ด้วยการร่วมบริจาค เลขที่บัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ 319- 2 – 62123-1

สนับสนุนนิตยสาร ฉลาดซื้อ ด้วยการสมัครสมาชิก ทุกยอดบริจาคสามารถใช้ในการลดหย่อนภาษีประจำปีได้
- บุคคลธรรมดา : หักลดหย่อนได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล : หักเป็นรายจ่ายได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะอื่น ๆ ต้องไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ