Skip to main content

ภารกิจลดและป้องกันอุบัติเหตุทางถนน เพื่อปกป้องชีวิตคนไทย ยังเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกหน่วยงาน ต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง ไม่เพียงบทบาทของหน่วยงานรัฐ วันนี้เครือข่ายทำงานได้ขยายไปสู่ภาคเอกชน ในประเทศไทยพื้นที่ต้นแบบเกิดขึ้นแล้วที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ส่วนความช่วยเหลือจากองค์กรต่างชาติ ประเทศไทยได้รับความอนุเคราะห์จาก SaferRoadsFoundation สนับสนุนงบประมาณ มุ่งหวังให้คนไทยปลอดภัยมากขึ้น

ในรายการ “ไทยบอก เทศน์เล่า” โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. พูดคุยกับแขกรับเชิญทั้ง 2 ท่าน ที่มีความมุ่งมั่นสร้างความปลอดภัยทางถนน ให้กับทั้งคนไทย และนักท่องเที่ยวผู้ที่มาเยี่ยมเยือนจากทั่วโลก ภายใต้ความปรารถนาและความมุ่งมั่น ที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อชีวิตของผู้อื่น ด้วยการสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อลดและป้องกันอุบัติเหตุ 

“นิคมอมตะ” ต้นแบบเอกชนไทย ส่งเสริมมาตรการลดสูญเสียจากอุบัติเหตุ

วิกรม กรมดิษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ อมตะ คอร์เปอเรชั่น เล่าว่า ปัจจุบันมีประชากรที่ทำงานอยู่ในอมตะเกือบ 400,000 คน ทั้งที่ชลบุรี ระยอง เวียดนาม และพม่า เมื่อรวมกับผู้คนที่อาศัยอยู่รอบๆ คิดว่ารวมแล้วเกือบ 2 ล้านคน และปัญหาคือเราได้เห็นอุบัติเหตุ ที่ทำมีผู้เสียชีวิตในอมตะ มีผู้เสียชีวิตประมาณ 15 คนต่อปี นั่นทำให้เราเป็นกังวลอย่างมาก กับคนที่ทำงานในอมตะนคร  พวกเขาควรจะตระหนักถึง พวกเขาควรระวัง แต่พวกเขาไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการจัดการของเรา ผมคิดว่าทุกคนไม่อยากตาย ไม่อยากบาดเจ็บ หรือทรมาน

“อมตะ ดำเนินการถึงวันนี้ บนขนาดพื้นที่กว่า 100 ตารางกิโลเมตร ขนาดไม่ได้ใหญ่เลยเมื่อเทียบกับประเทศ แต่เรามีคนเสียชีวิตในอมตะมากถึง 15 คนต่อปี เรากลับมาวางแผนโดยอาศัยหลักวิศวกรรม เรามีโรงงานประมาณ 1,400 แห่ง นั่นคือกุญแจสำคัญ พูดคุยกับผู้จัดการ แจ้งให้ทราบเกี่ยวกับสถิติว่าเกิดอะไรขึ้นในนิคมอุตสาหกรรมของเรา และทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่าควรมีการแจ้งการอบรม ให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ความรู้แบบหนึ่ง” วิกรม กล่าว

ประการที่สอง ประเทศไทยมีถนนที่ยาวกว่า 100 กิโลเมตร เราจำเป็นต้องใส่ป้ายทั้งหมด ควรใส่สัญญาณไฟจราจรทุกมุม หลังดำเนินการทุกวันนี้มีคนเสียชีวิตเฉลี่ยหนึ่งคนต่อปี เนื่องจากสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากความเสียหาย ต่อผู้คนที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมของเรา แสดงให้เห็นว่าอุบัติเหตุทั้งหมดสามารถลดลงได้ หากเราตั้งใจจะทำการวางแผนที่ดี และร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเรากำลังมองไปสู่อนาคตที่ไม่มีอุบัติเหตุ เพราะในอนาคตเราจะมีพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 500 ตารางกิโลเมตร

“จำนวนคนควรจะมากขึ้น เราอาจจะมีคนทำงานมากกว่าหนึ่งล้านคน ถ้าอุบัติเหตุยังเหมือนสมัยก่อน ผมว่าอาจจะสร้างปัญหาให้กับผู้ที่ทำงานในอมตะได้ นั่นเป็นเหตุผลที่เรากำลังทำ เพราะความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน ไม่ว่าคุณจะเป็นคนของประเทศใดก็ตาม ในนิคมอุตสาหกรรม เรามีมากกว่า 30 ประเทศมาอยู่รวมกัน เราสร้างเงินจำนวนมหาศาลกว่า 60 พันล้านดอลลาร์ที่ผลิตในอมตะ นั่นเป็นเงินจำนวนมหาศาล ดังนั้นถ้าเราสามารถปรับปรุงสัญญาร ป้าย และอะไรก็ตามที่ผมคิด จำนวนเงินนั้นเทียบไม่ได้เลยกับการผลิตของเรา” วิกรม กล่าว 

สำหรับการลดและป้องกันอุบัติเหตุทางถนนของไทย คิดว่าประเด็นอยู่ที่การบริหารจัดการเท่านั้น คิดว่าเราสามารถปรับปรุงได้ และฝ่ายบริหารก็สามารถทำได้เช่นกัน ส่วนตัวผมชอบที่ญี่ปุ่น การจราจรเป็นอย่างไร ทุกอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าพูดถึงประเทศใกล้เคียง สิงคโปร์เป็นหนึ่งในพื้นที่ของเมือง ที่มีประชากรต่อตารางกิโลเมตรค่อนข้างสูง แต่อุบัติเหตุในสิงคโปร์ ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับ 1 ตารางกิโลเมตรในประเทศไทย ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากการบริหารจัดการด้วยเช่นกัน  ผู้บริหารคือคำตอบของทุกอุบัติเหตุ

ภายใต้การสนับสนุนจาก Safer Roads Foundation ประเทศอังกฤษ

ไมเคิล วู้ดฟอร์ด ประธานมูลนิธิ Safer Roads Foundation ประเทศอังกฤษ บอกว่า ความปลอดภัยทางถนนเป็นเรื่องสำคัญ ทุกๆ ปีผู้คนประมาณ 1.3 ล้านคนถูกฆ่าตายบนท้องถนน ที่น่าตกใจคือคนหนุ่มสาวในหลายประเทศ สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ ในกลุ่มอายุต่ำกว่า 40 ปีมากจากอุบัติเหตุทางถนน ซึ่งผมมั่นใจว่าผู้ฟังหลายท่านวันนี้ เคยประสบกับการสูญเสียคนที่รัก จากอุบัติเหตุบนท้องถนน 

“ผมเป็นคนที่โชคดีที่สุดคนหนึ่ง ที่สามารถนำเงินมาลงทุนและช่วยชีวิตมนุษย์ได้เป็นจำนวนมาก สำหรับประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศ ที่มีอัตราผู้เสียชีวิตต่อจำนวนประชากรสูงสุด อย่างไรก็ตาม ในประเทศที่ผมทำงานด้วยไทยนั้นเปิดกว้างที่สุด ตอบสนองดีที่สุด และให้แรงสนับสนุนมากที่สุด นั่นเป็นเหตุผลหลัก ว่าทำไมประเทศไทยถึงเป็นจุดสนใจหลัก ที่ผมให้ความสำคัญ ก็เพราะคนที่เราทำงานด้วย” ไมเคิล กล่าว 

บริบทของประเทศไทย สาเหตุการเสียชีวิตที่ใหญ่ที่สุดบนถนน เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ โดยในภาพรวมคนไทยเสียชีวิตราว 25,000 คนต่อปี เป็นจำนวนสูงสุดของประเทศกำลังพัฒนา แน่นอนว่ารัฐบาลอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุด ในการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างที่ผมพูดไปก่อนหน้านี้ เราทุกคนควรทำสิ่งที่เราทำได้ ไม่ใช่แค่รอให้รัฐบาลดำเนินการ 

ในส่วนของภาคเอกชนนั้น หากบริษัทของคุณเกี่ยวข้องกับการขนส่ง และการจำหน่าย คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ายานพาหนะของคุณ มีอุปกรณ์ที่สามารถติดตามเพื่อให้แน่ใจว่า ผู้ขับขี่ของคุณปฏิบัติตามจำนวนชั่วโมงที่ขับ และสอดคล้องกับการจำกัดความเร็ว

สำหรับการสนับสนุนประเทศไทยของเรา ตอนนี้มี 2 แคมเปญหลัก ที่มีความสำคัญมากที่สุด และทั้งสองประเด็นเกี่ยวข้องกับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ที่เชียงใหม่มีคุณหมอที่รักษาอาการบาดเจ็บ เค้าไม่สบายใจที่เห็นคนไข้เข้ามา ถ้าขาหัก แขนหัก หรือซี่โครงหัก เขายังพอช่วยเหลือได้ แต่ถ้ากะโหลกศีรษะของคุณได้รับอันตราย “คุณแทบจะทำอะไรไม่ได้เลย แทบจะช่วยไม่ได้เลย” 

ในประเทศไทยหลายคนไม่สวมหมวกกันน็อค หากคุณไม่สวมหมวกกันน็อคในสหราชอาณาจักร สมมติว่าในเยอรมนีหรือในฝรั่งเศส ภายในไม่กี่นาทีตำรวจจะตรวจจับเพื่อห้ามขี่ หมวกกันน็อคจึงเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด ในการช่วยชีวิตสำหรับคนขี่มอเตอร์ไซค์ 

ที่เชียงใหม่ โครงการ “Chiangmai: Non-Helmet Wearing Recognition Camera Project” เราสนับสนุนค่าใช้จ่ายประมาณ 400,000 ดอลลาร์ ในการติดตั้งกล้องระบบ AI ตรวจจับผู้ขับขี่และซ้อนมอเตอร์ไซค์ ที่ไม่สวมหมวกกันน็อค ในพื้นที่ 5 อำเภอ ซึ่งปกติจะมีผู้เสียชีวิตราว 250 รายทุกปี ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกคน ไม่ว่าจะเครือข่าย สอจร. สสส. ตำรวจ โรงพยาบาล รัฐบาลท้องถิ่น

“โครงการนี้ดำเนินไปด้วยดี แต่ก็มีคำสั่งจากกระทรวงการคลัง เรื่องการส่งเงินค่าปรับเข้าส่วนกลาง แต่ไม่ส่ง 40% กลับมาเป็นทุนดำเนินการออกใบสั่งให้กับตำรวจในพื้นที่ ผมมองว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างไร้สาระ เมื่อตำรวจยังไม่ได้รับค่าใช้จ่ายในการออกตั๋วปรับ เลยทำให้ออกตั๋วปรับน้อยลง ลองคิดดูว่าเราช่วยชีวิตคน 130 ราย แล้วพื้นที่ 5 อำเภอในเชียงใหม่ หากนำกล้องเหล่านี้กระจายต่อไป กล้องตรวจจับการสวมหมวกกันน็อคอัจฉริยะ สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นซอฟต์แวร์ไทย ผลิตในราชอาณาจักรไทย จะสามารถลดการตายทั่วประเทศลงได้อีกมาก” ไมเคิล กล่าว

อีกประเด็นที่ช่วยชีวิตได้มาก คือ การติดตั้ง “ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS” ใส่ไว้ในล้อหน้าได้ มีค่าใช้จ่ายประมาณ 40$ (ประมาณ 1,500 บาท) ในปี พ.ศ. 2567 ประเทศไทยจะเปิดตัว บังคับใช้ระบบเบรคนี้กับรถจักรยานยนต์ รุ่นขนาดเกิน 125cc แต่ 90% ของรถจักรยานยนตร์ในประเทศไทยประมาณ 125 cc  หรือน้อยกว่า ดังนั้นจึงควรบังคับใช้กับรถมอเตอร์ไซค์ทุกคัน ที่มีระยะทางเกิน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง