Skip to main content

เว็บไซต์ Japan Times เปิดเผยว่า ข้อมูลของรัฐบาลญี่ปุ่นที่เผยแพร่เมื่อวานนี้ (18 ก.ย.) แสดงให้เห็นเป็นครั้งแรกว่าขณะนี้ ชาวญี่ปุ่นที่อายุมากกว่า 75 ปี มีสัดส่วนมากกว่า 15% ของประชากรทั้งหมด โดยเพิ่มขึ้น 720,000 คน เป็น 19.37 ล้านคน ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงสังคมสูงวัยที่เติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศ

นอกจากนี้ สถิติของกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารประจำปีนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงการพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของจำนวนประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ในประเทศ ที่มี่จำนวน 36.37 ล้านคน หรือคิดเป็น 29.1% ของประชากรทั้งหมด ทำให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศอันดับต้นที่อยู่ในสังคมสูงวัย โดยมีอิตาลีตามมาเป็นอันดับสองที่ 24.1% และที่สามคือ ฟินแลนด์ ที่ 23.3%

รายงานจำแนกให้เห็นอีกว่า มีผู้สูงอายุเป็นผู้ชายถึง 15.74 ล้านคน คิดเป็น 26% ของประชากรชายทั้งหมด และเป็นผู้สูงอายุหญิง 20.53 ล้านคน คิดเป็น 32% ของประชากรผู้หญิงทั้งหมด และด้วยส่วนแบ่งประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี 1950 ทำให้สถาบันวิจัยประชากรและประกันสังคมแห่งชาติ คาดว่า ส่วนแบ่งดังกล่าวจะสูงถึง 35.3% ของประชากรทั้งหมดในปี 2040 

ซึ่งการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุในประเทศทำให้เกิดปัญหา ส่งผลต่อการปรับปรุงระบบบริการสุขภาพ และความพยายามในเพิ่มอัตราการเกิดที่ตอนนี้ต่ำมาก และการรักษาชุมชนในระดับภูมิภาคให้คงอยู่ 

ในขณะที่สัดส่วนของผู้มีอายุมากกว่า 65 ปี ที่ทำงานในปี 2022 เท่ากับ 25.1% ของปีที่แล้ว แต่เป็นครั้งแรกที่คนส่วนใหญ่อายุ 65-69 ปี หรือ 50.3% มีงานทำ แต่มีสัญญาณว่าผู้สูงอายุที่ลาออกจากงาน เพราะผลกระทบจากการระบาดของโควิด ลดลงอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่เดือน ส.ค. 2021 

ตามข้อมูลจากรัฐบาล บอกถึงเหตุผลของประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นในช่วงอายุมากกว่า 75 ปี เป็นผลจาก เขาเหล่านี้เป็นลูกของเบบี้บูมช่วงแรกที่เกิดระห่าง 1947-1949 ที่มีอายุครบ 75 ปีเต็ม และประมาณ 12.35 ล้านคน มีอายุ 80 ปีขึ้นไป คิดเป็น 9.9% ของประชากรทั้งหมด และประมาณ 2.65 ล้านคน อยู่ในวัย 90 ปี หรือประมาณ 2.1% ของประเทศ