Skip to main content

สิ่งสำคัญที่สุดของการแพทย์ที่สวีเดนคือ 'ความรู้' และ 'ความรับผิดชอบต่อชีวิต' เพราะสิ่งที่แพทย์กระทำทั้งหมด เป็นการกระทำต่อมนุษย์ที่ฝากชีวิตไว้กับแพทย์

“ถ้าเราไปถามความคิดเห็นของเด็กไทยหรือนักเรียนไทย สิ่งสำคัญที่สุดของการเป็นแพทย์ก็คือ ‘ความเสียสละ’ แต่ว่าพอผมเอาแนวคิดนี้มาใช้ที่นี่ เขาบอกว่าไม่ใช่”

“อย่างแรกที่สุดคือคุณต้องมีความรู้ อย่างที่สอง ที่ตามมาติดๆ ก็คือความรับผิดชอบต่อชีวิต เพราะว่าสิ่งที่คุณทำทั้งหมดมันเป็นสิ่งที่คุณต้องทำกับมนุษย์ และเขาฝากชีวิตไว้กับเรา”

นพ.อภิญญา บุญชู แพทย์ไทยในสวีเดน บอกเล่าประสบการณ์การทำงานในประเทศที่ขึ้นชื่อด้าน 'รัฐสวัสดิการ' ซึ่งมีหน้าที่ดูแลพลเมืองของตัวเอง โดยเฉพาะในภาวะที่ระบบสาธารณสุขต้องรับมือวิกฤตสุขภาพ แต่ระบบที่ดีจะดูแลทั้งประชาชนทั่วไปและบุคลากรการแพทย์ที่เป็น #ด่านหน้า พร้อมทั้งยืนยันในหลักคิดสากลที่ว่า “หากพบปัญหา ก็ต้องยอมรับและหาทางแก้ไข”

 

“ระบบสาธารณสุขของที่นี่ ในส่วนของแพทย์ เขาจะมีเวลาการทำงานที่ชัดเจน คือ 38-42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์จะไม่เกินไปกว่านี้ เพราะเขามีแนวคิดว่าถ้าแพทย์ทำงานเกิน คนที่ได้รับผลกระทบที่สุดคือคนไข้ ก็จะจำกัดเวลาการทำงานของแพทย์ ถ้าแพทย์ไม่พอก็จะผลิตแพทย์เพิ่มขึ้น”

“การกระจายตัวของแพทย์ค่อนข้างจะกระจายตัวได้เหมาะสมมากกว่าประเทศไทยที่แพทย์จะกระจุกตัวในเมืองใหญ่ และในต่างจังหวัดจะเป็นแพทย์จบใหม่ แต่ที่นี่จะสลับกันนิดนึง แพทย์จบใหม่จะอยู่โรงพยาบาลใหญ่ แพทย์เฉพาะทางก็จะกระจายตัวออกไปตามเมือง...”

“ที่เมืองไทยมีปัญหาอะไร ปัญหาคือความไม่เท่าเทียมกันใช่ไหม คือการที่เรามีรัฐบาลที่ไม่สามารถสนับสนุนช่วยเหลือเราได้เลย หรือว่าการที่ทุกคนทำอยู่ตอนนี้ คือการสู้เพื่อที่เราจะมีชีวิตอยู่ ผมว่ามันเป็นเรื่องที่สมควรทำ”

อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม คุยกับหมอไทยในสวีเดนผู้มาก่อนกาล ‘ย้ายประเทศ’ หลังรัฐประหาร 2549

 

<video>20210810-01.mp4<video>