ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หน.ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลง:การให้วัคซีนโควิด-19 สลับชนิด แถลงว่า โรคนี้จะหยุดวิกฤตได้ด้วยวัคซีน ทำให้คนส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานเกิดขึ้น และช่วยลดการเสียชีวิต สิ่งที่เราต้องทำคือการป้องกันการติดเชื้อ จะเห็นได้ว่าประเทศไทยเริ่มฉีดวัคซีนมาตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา แต่ยังไม่ถึงเป้าหมาย เพราะว่าวัคซีนมีจำนวนจำกัด เราจำเป็นต้องบริหารวัคซีนให้ได้ประโยชน์สูงสุด เราต้องเข้าใจว่าวัคซีนทุกบริษัททุกยี่ห้อ พัฒนามาจากเชื้ออู่ฮั่น และกระบวนการกว่าจะได้วัคซีนใช้เวลาประมาณ 1 ปี ซึ่งใน 1 ปี นั้นไวรัสเปลี่ยนแปลงหรือกลายพันธุ์หนีระบบภูมิต้านทานของเรา ดังนั้นไม่ว่าวัคซีนจึงมีประสิทธิภาพเริ่มต่ำลง
ศ.นพ.ยง กล่าวว่า บ้านเรามีข้อจำกัด วัคซีนที่ใช้คือเชื้อตายเป็นส่วนใหญ่ คือ ซิโนแวค ส่วนซิโนฟาร์มเพิ่งเริ่มเข้ามา ซึ่งวัคซีนทั้งสองชนิดทำมาจากเชื้อตาย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำมากว่า 50 ปีแล้ว แตกต่างจากแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ ใช้การแปลงดีเอ็นเอ โดยไวรัสถูกทำหมันเป็นที่เรียบร้อย เมื่อฉีดแล้วจะมีอาการปวดเมื่อยมาก ร่างกายจะสร้างโปรตีนคล้ายกับไวรัส เพื่อกระตุ้นให้ร่างการสร้างภูมิต้านทาน ซึ่งไวรัสที่ผลิตโดยวิธีนี้ชนิดแรกคือ อิโบลา
"วัคซีนสองตัวนี้ มีคุณสมบัติแตกต่างกัน วัคซีนเชื้อตายการกระตุ้นภูมิต้านทานได้น้อยกว่า ส่วนอีกแบบภูมิต้านทานสูงกว่า เดิมการกระตุ้นภูมิที่เกิดขึ้นสูงเท่าเทียมหรือสูงกว่าคนที่หายป่วยแล้ว การฉีดเชื้อตายสองเข็มภูมิต้านทานจะสูงเท่ากับคนที่หายป่วย ดังนั้นเมื่อเริ่มต้นใช้จึงมีประสิทธิภาพสูง แต่อย่าลืมว่าไวรัสกลายพันธุ์ จึงต้องการการป้องกันที่สูงขึ้น จากการศึกษาของเรารู้ว่าเมื่อฉีดวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว จากเชื้อตายภูมิต้านทานหาย เพราะพัฒนาจากสายพันธุ์อู่ฮั่นดั่งเดิม แต่สายพันธุ์ใหม่ ต้องการภูมิต้านทานที่สูงขึ้น" ศ.นพ.ยง กล่าว
ศ.นพ.ยง กล่าวว่า ในทางปฏิบัติเราพิจารณาว่าถ้าฉีดแอสตร้าเซนเนก้าสองเข็มห่างกัน 10 สัปดาห์ หากฉีดห่างกัน 6 สัปดาห์ ภูมิต้านทานจะไม่ขึ้น ซึ่งแต่เดิมเราคิดว่าแอสตร้าเซนเนก้าเข็มเดียวต้านทานเชื้อจากอู่ฮั่นได้ แต่เมื่อเวลาปัจจุบัน เราได้หาจุดสมดุลว่าทำอย่างไรให้ภูมิคุ้มกันเร็วและสูงที่สุด เพราะถ้าฉีดเชื้อตาย 2 เข็ม หรือแอสตร้าเซนเนก้าเข็มเดียวไม่เพียงพอป้องกันเชื้อเดลต้า ถ้าเป็นเช่นนั้นเราฉีดเชื้อตายก่อน แล้วตามด้วยไวรัสแวคเตอร์ เหมือนกับเราฉีดเชื้อตายทำให้ร่างกายติดเชื้อ แล้วไปสอนนักรบ สอนหน่วยความจำร่างกายไว้ จากนั้น 3-4 สัปดาห์ค่อยไปกระตุ้นวัคซีนแวคเตอร์ ซึ่งให้ผลว่ากระตุ้นภูมิต้านทานสูงและขึ้นเร็ว ถึงแม้จะสูงไม่เท่ากับการให้แอสต้าเซนนิก้าสองเข็ม แต่ภูมิขึ้นได้ในเวลา 6 สัปดาห์ แทนที่จะรอ 12 สัปดาห์ คนไข้มากกว่า 40 คน ที่ติดตามมากลุ่มแรก ฉีดซิโนแวคสองเข็ม ภูมิต้านทานขึ้นสูงเท่ากับคนไข้ที่หายแล้ว
"ไวรัสกลายพันธุ์ เป็นเดลต้า ทำให้ป้องกันไม่ได้ ถ้าเราฉีดแอสต้าสองเข็ม เราต้องใช้เวลา 14 สัปดาห์ แต่การฉีดสองเข็มสลับการ เข็มแรกเป็นซิโนแวค เข็มสองเป็นแอสตร้าเซนเนก้า ผลจะใกล้เคียงกับฉีดแอสตร้าเซนเนก้าสองเข็ม ใช่้เวลาเพียง 6 สัปดาห์ แต่ถ้าใช้แอสตร้าสองเข้ฒ ไม่น้อยกว่า 12 สัปดาห์ มากกว่า 1 เท่าตัว สถานการณ์ระบาดรุนแรงแบบนี้ รอให้ 12 สัปดาห์ไม่ได้ การสลับฉีด จึงน่าเป็นประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทยที่มีการระบาดของโรค ประกอบกับประเทศไทยมีวัคซีนเพียง 2 ชนิด จึงเหมาะสมกับประเทศไทยในเวลานี้ ในอนาคตถ้ามีวัคซีนสลับเข็มได้ดีกว่า หาวิธีการได้ดีกว่า เวลาเรามีค่ามาก ขอสนับสนนุข้อมูลวิชาการ มีประโยชน์ใช้จริง" ศ.นพ.ยง กล่าว
ศ.นพ.ยง กล่าวว่า มีการฉีดวัคซีนสลับแบบนี้ มากกว่า 1,200 คน ที่ฉีดเยอะคือที่ รพ.จุฬาฯ และที่บันทึกในหมอพร้อม ทั้งหมดไม่มีใครมีอาการข้างเคียงรุนแรง จึงมีความปลอดภัยในชีวิตจริง
เมื่อถามว่า มีข้อน่ากังวลการฉีดสลับหรือไม่ นพ.ยง กล่าวว่า การศึกษาอย่างละเอียดทางคลินิกออกภายในสิ้นเดือนนี้ ที่มีการบันทึกทุกวันในข้อมูลหมอพร้อม