Skip to main content

Libertus Machinus
 

 

รู้มั้ยที่ฟินแลนด์ "สอบครูยากกว่าสอบหมอ" แต่เด็กเรียนไม่ดีที่ "มีความเป็นครู" ก็มีโอกาสเป็นครูได้ เพราะคนเหล่านี้จะเข้าใจและช่วยเหลือเด็กเรียนไม่ดีได้ดีกว่า

นับแต่ ‘ฟินแลนด์’ เข้าร่วมการสอบ PISA ครั้งแรกในปี 2000 และทำคะแนนได้สูงมาก จนทั่วโลกฉงนสนเท่ห์ว่า ประเทศเล็กๆ จากแดนเหนือประเทศนี้มี "ความลับ" อะไรที่ทำให้เด็กนักเรียนเก่งกันขนาดนี้ และหลังจากมีคนไป "ถอดบทเรียน" มากมาย "ความลับ" เหล่านี้ก็หนีไม่พ้น “การปฏิรูปการศึกษา” ในทศวรรษ 1970 ซึ่งแกนกลางของการปฏิรูปการศึกษา คือ การเปลี่ยนวิธีการฝึกสอนครู ให้ต้องจบปริญญาโท หรือต้องเรียนอย่างเข้มข้น 5 ปี ก่อนจะมาสอนหนังสือเด็กได้

หากใครไปดูวิธีการฝึกครูในฟินแลนด์ ก็จะรู้สึกว่ามันเข้มข้นมาก พวกครูประถมที่สอนได้หลายวิชา จะเรียนครูโดยตรงตั้งแต่ปริญญาตรี แล้วเลือกวิชาที่ถนัดจำนวนหนึ่งแล้วเรียนยาวๆ 5 ปีจนจบปริญญาโท ส่วนพวกครูมัธยมขึ้นไป เค้าจะเอาคนที่มีประสบการณ์การเรียนในสาขาวิชาโดยตรงไม่ต่ำกว่า 5 ปี หรือเรียนสาขาวิชาต่างต่างๆ จนจบปริญญาตรีและโท มาฝึกเป็นครู โดยเฉพาะโดยเรียนปริญญาโทด้านการศึกษาเพิ่มอีก 1 ปี

ด้วยกระบวนการแค่นี้ ไม่ต้องมีความรู้อะไรก็คงจะตระหนักได้ว่า มันไม่มีทางได้คนที่ "สอนหนังสือไม่ดี" มาสอนเด็กแน่ๆ ซึ่งมาตรการสุดเข้มนี้เป็นหลักประกันว่า ระบบการศึกษาฟินแลนด์นั้นเป็น “เลิศ” และจะเป็นอย่างนั้นต่อไป


ความ ‘เข้าใจผิด’ เกี่ยวกับคุณภาพของครูฟินแลนด์

 

ในความเป็นจริงถ้าไปถามครูฝั่งฟินแลนด์ เค้าก็จะไม่ได้คิดว่าเงินเดือนเค้าเยอะ คือ แน่นอน เงินเดือนเค้าไม่ได้น้อย แต่มันคือเงินเดือนข้าราชการปกติในประเทศของเค้า ไม่ใช่เงินที่มากกว่าอาชีพอื่นๆ ดังนั้น การพยายามจะ “ขึ้นเงินเดือน” เพื่อเพิ่มคุณภาพครู จึงเป็นมาตรการที่ “ผิดฝาผิดตัว” แน่ๆ ถ้ามองในแง่นี้

 

เรื่องพวกนี้ไม่ใช่ความลับอะไร หาอ่านได้ทั่วไป แต่สิ่งที่น่าสนใจที่คนประเทศอื่นอาจไม่รู้ก็คือ จริงๆ แล้ว “ครุศาสตร์” คือ คณะที่ "เข้ายาก" ที่สุดของฟินแลนด์ ยากยิ่งกว่าคณะแพทยศาสตร์ซะอีก เพราะถ้านับสัดส่วนคนสมัครกับคนที่ได้เข้าเรียน ไม่มีอะไรน้อยกว่าครุศาสตร์ คำถามคือ ฟินแลนด์ "จูงใจ" ให้คนมาเป็นครูยังไง อะไรที่ทำให้อาชีพที่คนในประเทศส่วนใหญ่ไม่ได้อยากเป็น กลายมาเป็นอาชีพที่มี "การแข่งขันสุดสุด" ในฟินแลนด์

และนี่นำมาสู่ "ความเข้าใจผิด" หลายอย่าง

ฝั่งอเมริกาที่เงินเดือนครูน้อย จะมองว่าครูฟินแลนด์คุณภาพดี เพราะเงินเดือนครูสูง คนเก่งๆ เลยอยากเป็นครูกัน ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาอเมริกาจะต้อง "ขึ้นเงินเดือนครู" ซึ่งในความเป็นจริงถ้าไปถามครูฝั่งฟินแลนด์ เค้าก็จะไม่ได้คิดว่าเงินเดือนเค้าเยอะ คือ แน่นอน เงินเดือนเค้าไม่ได้น้อย แต่มันคือเงินเดือนข้าราชการปกติในประเทศของเค้า ไม่ใช่เงินที่มากกว่าอาชีพอื่นๆ ดังนั้น การพยายามจะ “ขึ้นเงินเดือน” เพื่อเพิ่มคุณภาพครู จึงเป็นมาตรการที่ “ผิดฝาผิดตัว” แน่ๆ ถ้ามองในแง่นี้

ถามว่าแล้วฟินแลนด์ทำยังไงให้อาชีพครูมี “การแข่งขันสูง”? คำตอบรวมๆ ก็น่าจะเป็นการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของครูจากอาชีพที่เป็นได้ง่าย ใครก็เป็นได้ดังเช่นอาชีพครูในประเทศส่วนใหญ่ ให้กลายมาเป็นอาชีพที่เท่ห์ ที่มีเกียรติ สอบเข้ายาก ซึ่งถ้ามาดูตัวเลขอัตราการสอบเข้าก็โหดจริงๆ พวกมหาวิทยาลัยดังๆ แบบ เฮลซิงกิ อัตราการรับคนที่สอบเข้ามาเรียนคณะครุศาสตร์ในระดับปริญญาตรี คือ ต่ำกว่า 1 ใน 10 อธิบายง่ายๆ ก็คือ นี่เป็นคณะที่สอบเข้ายากพอๆ กับแพทยศาสตร์ หรือให้ตรง คือ ยากกว่านิดนึงด้วย เพราะ "อัตราการรับนักศึกษา" ของคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ปี 2016คือ 7.3% แต่คณะครุศาสตร์กลับมีอัตราการรับนักศึกษาเพียง 6.8% เท่านั้น

พูดง่ายๆ ในฟินแลนด์ "เป็นครูยากกว่าเป็นหมอ" ซึ่งก็สอดคล้องกับการเป็น "อาชีพในฝัน" ของเด็กในฟินแลนด์ ต่างจากหลายๆ ประเทศ ซึ่งอาชีพที่เด็กอยากเป็นกันมากที่สุดคือ "หมอ” กับ “วิศวะ" เพราะคือสองวิชาชีพที่ "เงินเดือน" เยอะที่สุด แต่ฟินแลนด์ อาชีพที่เด็กๆ อยากเป็นมากที่สุดคือ "ครู” กับ “หมอ" แม้การเป็นครูในฟินแลนด์จะไม่ได้ "รวย" แน่ๆ ในมาตรฐานสังคมตะวันตก แต่คนก็ยังอยากทำอาชีพนี้ ก็เป็นตัวอย่างว่า สถานะทางสังคมของครูในสังคมฟินแลนด์นั้น "สูง" แค่ไหน


‘ความลับ’ ของอาชีพครูในฟินแลนด์

 

ถ้าจะมี "ความลับ" ว่าทำไมฟินแลนด์ถึงมีครูดีๆ ในแง่หนึ่งน่าจะเกิดจากการ "รีแบรนด์" อาชีพครูในช่วงการปฏิรูปการศึกษาด้วย

การปฏิรูปการศึกษา คือ การปฏิรูปภาพลักษณ์ครูให้กลายเป็นอาชีพในฝันของเด็กๆ ซึ่งพอทำแบบนี้สำเร็จก็ไม่ต้องคิดมากเลย จะมี "เด็กเก่ง" อยากมาสมัครเป็นครูมากมายแบบต้องไล่คัดออก

แต่ก็นำมาซึ่งอีก "ความเข้าใจผิด" ที่ว่าฟินแลนด์จะคัด "คนเก่งที่สุด" มาเรียนครุศาสตร์เพื่อไปเป็นครูระดับประถมศึกษาเท่านั้น

 

พูดง่ายๆ ในฟินแลนด์ "เป็นครูยากกว่าเป็นหมอ" ซึ่งก็สอดคล้องกับการเป็น "อาชีพในฝัน" ของเด็กในฟินแลนด์ ต่างจากหลายๆ ประเทศ ซึ่งอาชีพที่เด็กอยากเป็นกันมากที่สุดคือ "หมอ” กับ “วิศวะ" เพราะคือสองวิชาชีพที่ "เงินเดือน" เยอะที่สุด 

 

ถ้าไปดูระบบการคัดเลือกนักศึกษาปริญญาตรีคณะครุศาสตร์  จะแบ่งโควตานักศึกษาเป็นสองกลุ่ม คือ นักศึกษาที่จะเข้าเรียนได้จากคะแนนเอ็นทรานซ์เพียวๆ คือเป็นเด็กที่สอบได้คะแนนสูง กับอีกกลุ่ม คือ เด็กที่จะถูกพิจารณาจากคะแนนเอ็นทรานซ์ กับคะแนนสอบตอนจบมัธยมปลาย (ปกติฟินแลนด์จะไม่มีสอบ แบบ "สอบไล่" เพื่อให้ผ่านแต่ละชั้นปี แต่จะมีสอบตอนเรียนจบ ม. ปลาย เพื่อประเมินความรู้รวมๆ)  โดยทั้งคู่ก็จะต้องมาผ่านกระบวนการสอบสัมภาษณ์และทดสอบเพื่อ "วัดแววความเป็นครู" อีกที

ความน่าสนใจคือ ในโควต้าส่วนที่เค้าพิจารณา "คะแนนสอบตอนจบมัธยมปลาย” จะไม่ได้คัดเอาแต่เด็กที่ "คะแนนสูง" มาตั้งแต่มัธยม แต่จะมีโควต้าส่วนหนึ่งให้เด็กที่คะแนนสอบตอนจบ ม.ปลายที่กลางๆ แต่ได้คะแนนเอ็นทรานซ์ดีด้วย

พูดง่ายๆ ตามภาษาระบบการศึกษาอื่น ระบบการคัดเลือกครูของฟินแลนด์จะมีโควต้าให้เด็ก "เกรดไม่ดี" เข้ามาถึงรอบการสอบสัมภาษณ์ด้วย หรือพูดง่ายๆ เค้ามีระบบที่เอื้อให้คนที่เรียน "ผลการเรียนระดับมัธยม" ไม่ดี แต่ "มีความตั้งใจเป็นครู" ให้สามารถเข้ามาเรียนเพื่อเป็นครูสอนเด็กได้ในที่สุด

ตรงนี้เค้าเชื่อว่า “ครู” ไม่ควรจะมีแต่พวก "เรียนเก่ง" แต่ควรจะมีพวกที่ "เรียนไม่เก่ง" แทรกอยู่ด้วย เพราะคนที่เรียนไม่เก่งจะเข้าใจเด็กที่เรียนไม่เก่งมากกว่า และจะมีไอเดียในการสอนเด็กที่เรียนไม่เก่งได้ดีกว่า ซึ่งสำคัญมากในการพัฒนาศักยภาพเด็กที่เรียนรู้ยากตามแนวทางการสอนปกติ

ตรงนี้เอาแค่นี้ก่อน ความคิดที่ว่าฟินแลนด์ให้เงินเดือนครูเยอะคนเลยอยากเป็นครูกัน และหรือแนวคิดที่ว่า ฟินแลนด์คัดแต่เด็กที่เรียนเก่งๆ มาเป็นครู ล้วนเป็นความคิดที่ “ผิด” ทั้งคู่ เพราะไอเดียของความเป็นครูในฟินแลนด์ต่างออกไปจากทั้งภาพที่เราเห็นว่า มันไม่ควรจะเป็น และก็ต่างจากอุดมคติที่เราคิดว่ามันควรจะเป็นด้วย

เพราะการเป็นครูที่ฟินแลนด์ เริ่มจากสถานะทางสังคมที่สูงของอาชีพนี้ จนคนต้องมาแข่งแย่งกันเป็นครู และในการเลือกคนมาเป็นครู ระบบก็ไม่ได้เลือกแต่ "คนเรียนเก่ง" ที่มักจะไม่เข้าใจ "คนเรียนไม่เก่ง" แต่ระบบพยายามจะผลิตครูที่มีความเข้าใจเด็กอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะเด็กที่จะเรียนรู้ยากภายใต้แนวทางการสอนปกติ

 

ตรงนี้เค้าเชื่อว่า “ครู” ไม่ควรจะมีแต่พวก "เรียนเก่ง" แต่ควรจะมีพวกที่ "เรียนไม่เก่ง" แทรกอยู่ด้วย เพราะคนที่เรียนไม่เก่งจะเข้าใจเด็กที่เรียนไม่เก่งมากกว่า และจะมีไอเดียในการสอนเด็กที่เรียนไม่เก่งได้ดีกว่า ซึ่งสำคัญมากในการพัฒนาศักยภาพเด็กที่เรียนรู้ยากตามแนวทางการสอนปกติ


ทำไมระบบการศึกษาของฟินแลนด์จึงสนใจคนเรียนไม่เก่ง

 

ถามว่าทำไมไอเดียเค้าเป็นแบบนี้ คือ ไอเดียเรื่องการศึกษาในฟินแลนด์ ถ้าใครเคยอ่านสัมภาษณ์พวกครูฟินแลนด์ ก็จะรู้ว่า ไอเดียของเค้าไม่ใช่ทำให้เด็กเก่งนั้นเก่งขึ้นไปอีก ไม่ใช่การสนับสนุนเด็กเก่งให้ "ไปถึงดวงดาว" แต่เน้นการลากเด็กไม่เก่ง "ออกจากโคลนตม" กล่าวคือ เค้าจะทุ่มทรัพยากรไปที่เด็กที่ไม่เก่ง ให้เด็กไม่เก่งสามารถมีโอกาสที่จะเก่งขึ้นหรือเรียนรู้ได้ดี หรือพูดง่ายๆ ไอเดียเค้าคือ ระบบการศึกษามันต้องทำให้คนออกมาเท่าๆ กันในที่สุด ไม่ใช่ไปเสริมเด็กเก่งให้กลายเป็นหัวกะทิระดับประเทศ แล้วทอดทิ้งเด็กไม่เก่งตามยถากรรม

ก็อย่างที่บอก เด็กไม่เก่งก็จะมีโควต้าที่จะทำให้สอบครูได้ เพราะระบบครูก็ต้องการครูที่มีความเข้าใจเด็กที่เรียนไม่เก่งด้วย โดยก็ต้องเข้าใจอีกว่าไม่ใช่แค่ครูใน "โรงเรียนชั้นนำ" จะคิดกันแบบนี้ แต่ครูฟินแลนด์ตามบ้านนอกก็คิดแบบนี้ เพราะสิ่งที่ฟินแลนด์เน้นตลอด คือ การทำให้มาตรฐานการศึกษา "เท่าเทียมกัน" ทั้งประเทศ

มาถึงตรงนี้ ทำให้เราตอบคำถามที่น่าสนใจอย่างหนึ่งได้ ซึ่งก็คือคำถามที่หลายคนโจมตีฟินแลนด์ว่า ถ้า "การศึกษา" ฟินแลนด์ดีนักหนา ทำไมฟินแลนด์ไม่เคยเป็นแชมป์พวก "โอลิมปิกวิชาการ" หรือได้เหรียญใดๆ เลย?

ให้ตรงกว่านั้น นี่คำถามว่า ทำไมประเทศที่สอบ PISA ได้คะแนนสูงจัดๆ ถึงดูเป็นประเทศที่ไม่มีอันดับอะไรให้จดจำใน "โอลิมปิกวิชาการ" เลย

นี่ไม่ใช่คำถามใหม่ เป็นคำถามที่พบทั่วไปในอินเทอร์เน็ต และคำตอบของคนฟินแลนด์เองก็คือ เพราะระบบการศึกษาเค้าไม่ได้เน้น "เสริมคนเก่ง" แต่ไปเน้น "ช่วยคนไม่เก่ง" ดั้งนั้น พวก "หัวกะทิ" ของฟินแลนด์ก็จะไม่ได้เก่งเวอร์ๆ แต่อีกด้าน "เด็กทั่วๆ ไป" เค้าจะเก่งมาก และนี่คือสาเหตุว่าทำไมสอบ PISA ได้ดี คือถ้าทอดสอบเพื่อเช็คมาตรฐานการศึกษาโดย "สุ่ม" เอาจากเด็กทั้งระบบการศึกษา "โดยเฉลี่ย" เด็กฟินแลนด์จะเก่งกว่าประเทศอื่นแน่ๆ และเหตุที่เค้าไม่ได้ "แข่งขัน" ได้ดี เพราะระบบการศึกษามันไม่ได้เน้นปั้น "หัวกะทิ" ให้เป็นหน้าเป็นตาของประเทศ และจริงๆ คือ ระบบการศึกษาเค้าไม่ได้เน้น "การแข่งขัน" ด้วยซ้ำ แต่ไปเน้นพัฒนาศักยภาพที่แตกต่างหลากหลายของมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งเป็นแนวที่นักคิดด้านการศึกษายุคหลังๆ ชอบกัน

ทั้งหมดที่เล่ามานี้คงจะพอทำให้เห็นภาพว่าระบบการศึกษาฟินแลนด์นั้นมีเอกลักษณ์ และอธิบายยากพอควร แน่นอนว่าระบบการศึกษาของฟินแลนด์มีชื่อเสียงระดับโลก แต่เงินเดือนครูของเค้าก็ไม่ได้มากกว่าข้าราชการทั่วไปในประเทศ และเค้าก็ไม่ได้แต่สักจะเอา "คนเก่ง" มาสอนหนังสือด้วย แต่เค้าเน้นระบบการศึกษาที่จะโอบอุ้มและไม่ทอดทิ้งคนไม่เก่งเสียมากกว่า

แน่นอนว่า ทั้งหมดที่กล่าวมา แค่พูดง่ายมาก แต่ทำยากสุดๆ และนั่นน่าจะทำให้ระบบการศึกษาของฟินแลนด์ไม่ใช่สิ่งที่ประเทศอื่น "เลียนแบบ" ไม่ได้ง่ายๆ แม้แต่ประเทศร่ำรวย เพราะสิ่งที่ฟินแลนด์เป็นโดยพื้นฐาน คือ สังคมที่เชื่อว่าการศึกษาควรจะทำให้ทุกคนเท่ากัน และนั่น คือ สิ่งที่ "มีเงินเท่าไรก็ซื้อไม่ได้" ในสังคมที่ชื่อว่าภาวะมือใครยาวสาวได้สาวเอา คือ ภาวะตามธรรมชาติของสังคมมนุษย์


อ้างอิง

Q: What makes Finnish teachers so special? A: It’s not brains
Teachers and trust: cornerstones of the Finnish education system
TEACHER VOICE: In Finland, it’s easier to become a doctor or lawyer than a teacher — Here’s why
If Finland has the best education system in the world, why would Finnish students never be the champion in the International Science Olympiad?
 

อ่านบทความอื่นๆ ของผู้เขียน