อรอนงค์ ทิพย์พิมล
“ผู้สูงอายุ” หรือ “วัยชรา” มักถูกมองว่า เป็นวัยที่ประสิทธิภาพในการทำงานเสื่อมถอย แต่ไม่ใช่สำหรับผู้สูงอายุของกลุ่ม Rumah Zakat ในอินโดนีเซีย ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอาสาสมัครสูงวัยนาม Lastri Mulyani ที่หมู่บ้าน Tegalurung จังหวัดชวาตะวันตก ที่ยืนยันว่า ผู้สูงวัยยังคงทำงานแบบมีประสิทธิภาพได้ เพียงแต่ต้องปรับให้เข้ากับสภาพทางกายภาพของตนเอง
หนึ่งในงานที่ผู้สูงวัยเหล่านี้ทำ คือ การปลูกองุ่น พวกเขาได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้สามารถปลูกองุ่นได้ด้วยตัวเอง ผู้สูงวัยท่านหนึ่งที่เข้าร่วมอบรมกล่าวว่า “ในขณะที่ผักผ่อนชิลล์ๆ ในไร่องุ่นแห่งนี้ ฉันได้เรียนรู้วิธีการปลูกองุ่นร่วมกับผู้สูงวัยคนอื่นๆ”
Lastri Mulyani ริเริ่มโครงการปลูกองุ่นของผู้สูงวัยตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2021 ไร่องุ่นตั้งอยู่ที่หมู่บ้าน Tegalurung และได้ตั้งชื่อไร่ว่า “ไร่องุ่นผู้สูงวัย” การปลูกองุ่นนี้ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังเป็นการร่วมทุนของกลุ่มผู้สูงวัยในการขายเมล็ดและผลองุ่น ผู้สูงวัยมีส่วนร่วมในการปลูกองุ่นในพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่เริ่มต้น ตั้งแต่การต่อกิ่งของต้นองุ่น การปลูก ไปจนถึงการดูแลรักษาต้นองุ่น
Lastri Mulyani เผยว่า จากตอนแรกที่มีองุ่นเพียง 2 ชนิด ตอนนี้มีองุ่นที่เกิดจากการทาบกิ่งเองถึง 20 ชนิดแล้ว โดยผู้สูงวัยนั่นเองที่เป็นคนตอนกิ่งจนเกิดเป็นองุ่นพันธุ์ใหม่ขึ้นมา ตัวอย่างเช่นองุ่นพันธ์ Jupiter ที่มีกลิ่นคล้ายมะม่วง gedong gincu ก็เป็นที่ต้องการของชาวบ้านอย่างมาก และที่ไร่องุ่นนี้ยังกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการศึกษาสำหรับนักเรียนอีกด้วย มีนักเรียน นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ไปเยี่ยมชมไร่องุ่นของผู้สูงวัย
ผลผลิตจากไร่องุ่นนี้จะถูกจัดสรรปันส่วนให้ผู้สูงวัยผู้ร่วมปลูกก่อน ที่เหลือจึงขายให้แก่ผู้สนใจ การปลูกองุ่นที่ไร่นี้มีการจัดการให้เก็บเกี่ยวแบบสลับกันไป บางต้นถึงเวลาเก็บเกี่ยวได้แล้ว บางต้นอยู่ในช่วงที่ผลองุ่นกำลังเติบโต ในระยะเวลาหนึ่งปี สามารถเก็บเกี่ยวได้ถึงสามครั้ง
หนึ่งในงานที่ผู้สูงวัยเหล่านี้ทำ คือ การปลูกองุ่น พวกเขาได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้สามารถปลูกองุ่นได้ด้วยตัวเอง ผู้สูงวัยท่านหนึ่งที่เข้าร่วมอบรมกล่าวว่า “ในขณะที่ผักผ่อนชิลล์ๆ ในไร่องุ่นแห่งนี้ ฉันได้เรียนรู้วิธีการปลูกองุ่นร่วมกับผู้สูงวัยคนอื่นๆ”
ไร่องุ่นเป็นเพียงหนึ่งในโครงการของ Rumah Zakat ที่มีขึ้นเพื่อผู้สูงวัยที่หมู่บ้าน Tegalurung นอกจากไร่องุ่นแล้ว ยังมีโปรแกรมอื่นๆ อีกเช่น สวนโภชนาการผู้สูงวัย, การทำอิฐเชิงนิเวศ และการเลี้ยงจิ้งหรีด
เทรนด์การทำไร่องุ่นเป็นที่นิยมของผู้สูงวัยในเขตชวาตะวันตก นอกจากที่หมู่บ้าน Tegalurung แล้ว ยังมีการปลูกไร่องุ่นที่หมู่บ้าน Sinagar Papak Ranji อำเภอ Sukabumi ในชวาตะวันตก ผู้สูงวัยหญิงนามว่า Hj. Juju Juarnah วัย 79 ปี ได้ปลูกองุ่นพันธุ์บราซิลและมีรายได้จากผลผลิตองุ่นหลักสิบล้านไปจนถึงร้อยล้านรูเปียห์ต่อการเก็บเกี่ยวแต่ละครั้ง โดยเธอได้เริ่มปลูกองุ่นมาประมาณ 8 ปี องุ่นเริ่มมีผลช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
Hj. Juju Juarnah กล่าวว่า แต่ละกิ่งขององุ่นให้ผลผลิตราว 5 กิโลกรัม เธอมีที่ดินปลูกองุ่นราว 1.3 ตารางกิโลเมตร มีต้นองุ่นราว 64 ต้น และต้นกล้าองุ่นราว 1,500 ต้น ต้นองุ่นสูงราว 4 เมตร ในแต่ละปี Hj. Juju Juarnah เก็บเกี่ยว 2 ครั้ง ผลผลิตส่งออกไปขายยังเมืองต่างๆ เช่น เมืองบันดุง, เจียนจูร์, โบกอร์, ปากาล็องงันและที่อื่นๆ
จากตอนแรกที่มีองุ่นเพียง 2 ชนิด ตอนนี้มีองุ่นที่เกิดจากการทาบกิ่งเองถึง 20 ชนิดแล้ว โดยผู้สูงวัยนั่นเองที่เป็นคนตอนกิ่งจนเกิดเป็นองุ่นพันธุ์ใหม่ขึ้นมา ตัวอย่างเช่นองุ่นพันธ์ Jupiter ที่มีกลิ่นคล้ายมะม่วง gedong gincu ก็เป็นที่ต้องการของชาวบ้านอย่างมาก
จากความสำเร็จดังกล่าว ทำให้มีผู้ใหญ่บ้านจากพื้นที่ใกล้เคียงไปเยี่ยมชมดูงานที่ไร่องุ่นของ Hj. Juju Juarnah ผู้คนที่ไปเยี่ยมชมต่างทึ่งในความอุตสาหะและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดจากหญิงสูงวัยอายุเกือบ 80 ปี ซึ่งองุ่นพันธุ์บราซิลเป็นที่เลื่องลือในด้านปลูกยาก ยิ่งทำให้ไร่องุ่นของ Hj. Juju Juarnah น่าทึ่งเข้าไปใหญ่ และเป็นที่คาดหวังว่าจะก่อให้ประโยชน์ต่อชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียง ทั้งในด้านเศรษฐกิจและแรงบันดาลใจต่อคนรุ่นใหม่ นอกจากนี้รัฐบาลท้องถิ่นยังได้มีความคิดจะสนับสนุนให้ไร่องุ่นแห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมอีกด้วย
ความสำเร็จของผู้สูงวัยในการปลูกไร่องุ่นได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนจำนวนมาก ความสำเร็จดังกล่าวชี้ว่า วัยไม่ใช่อุปสรรคในการไปถึงเส้นชัยไม่ว่าจะในด้านเกษตรกรรมหรือด้านไหนก็ตาม
ที่มา:
“Kebun Anggur Rumah Zakat Jadikan Kelompok Lansia Tetap Produktif di Usia Senja.
“Menginspirasi, Lansia di Sukaraja Berhasil Budidaya Anggur Brazil HIngga Untung Ratusan Juta.”