Skip to main content

 

  • ร้อยละ 29.55 ของนักเรียนที่ตอบแบบสำรวจ ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์ ในจำนวนนั้นเป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.78, เพศชาย ร้อยละ 22.08 และ LGBTQ+ ร้อยละ 9.38 โดยร้อยละ 14 เป็นนักเรียน ม.ต้น, ร้อยละ 51 เป็นระดับชั้น ม.ปลาย และ ปวช.ร้อยละ  34.87
  • รูปแบบความสัมพันธ์ที่พบมากที่สุด คือ การเป็นแฟนกัน รองลงมา คือ โสด และคนคุย
  • ร้อยละ 65.87 ระบุถึงการมีเซ็กส์ครั้งแรกว่า เป็นการตกลงกันของทั้งสองฝ่าย, รองลงมาระบุว่าบรรยากาศพาไป ร้อยละ 23.46, อยู่ในสภาพมึนเมา ร้อยละ 4.23%
  • วิธีคุมกำเนิด พบว่า การใช้ถุงยางอนามัยเป็นวิธีที่นักเรียนเลือกมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 38.63,  รองลงมา คือ ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ร้อยละ 17.42, ตามมาด้วย การหลั่งนอก ร้อยละ 15.70, ใช้ยาคุมกำเนิดรายเดือน ร้อยละ 9.63, เลือกที่จะไม่คุมกำเนิด ร้อยละ 4.71, นับวันปลอดภัย หน้า 7 หลัง 7 ร้อยละ 4.16, เพศสัมพันธ์แบบภายนอก ร้อยละ 3.80ฅ ฝังยาคุมกำเนิด ร้อยละ 3.32,  ยาคุมแบบฉีด ร้อยละ 1.68 และอื่นๆ เช่น ถุงยางอนามัยสตรี ห่วงอนามัย ยาคุมแบบแปะ ร้อยละ0.96
  • ในกรณีหากตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ร้อยละ 49.16 ตอบว่าเลือกที่จะตั้งครรภ์ต่อ โดยที่จะยังคงเรียนหนังสือต่อไป


ในโอกาส ‘วันวาเลนไทน์’ 14 กุมภาพันธ์  ร็อกเกต มีเดีย แล็บ ร่วมกับ มูลนิธิแพธทูเฮลท์ (p2h) ทำการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์ ความรู้ความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยม ม.1- ม.6 และระดับ ปวช. ถึงปัญหาเกี่ยวกับเซ็กส์/ความรัก/ความสัมพันธ์ ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ ระหว่างวันที่ 7-12 ก.พ. ที่ผ่านมา

มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 3,678 คน แบ่งเป็นเพศหญิง 2,181 คน คิดเป็น 59.3% เพศชาย 1,073 คน คิดเป็น 29.17%, LGBTQ+ 322 คน คิดเป็น 8.75% และไม่ต้องการระบุ 102 คน คิดเป็น 2.77% โดยผู้ตอบมีอายุระหว่าง 11-20 ปี

เมื่อแบ่งตามระดับการศึกษา พบว่า เป็นนักเรียนชั้นมัธยมต้น 1,667 คน คิดเป็น 45.32% ชั้นมัธยมปลาย 1,532 คน คิดเป็น 41.65% และ ปวช. 479 คน คิดเป็น 13.02%

นักเรียนที่ตอบแบบสำรวจ อยู่ในภาคกลางมากที่สุด ที่ 1,352 คน คิดเป็น 36.76% ตามด้วยภาคเหนือ 739 คน คิดเป็น 20.09% ภาคตะวันออก 653 คน หรือ 17.75% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 596 คน หรือ 16.20% ภาคใต้ 271 คน หรือ 7.37% และ ภาคตะวันตก 67 คน หรือคิดเป็น 1.82% โดย 3 จังหวัดแรกที่มีผู้ตอบแบบสอบถามมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร ในสัดส่วน 17.48% ตามด้วยระยอง 16.26% และเชียงราย 15.23%

 

นักเรียนมัยธมของไทยมีรูปแบบความสัมพันธ์แบบใด

ส่วนใหญ่ของนักเรียนระบุว่า เป็นโสดมากที่สุด 1,980 คน หรือคิดเป็น 53.83% มีแฟน 1,258 คน หรือคิดเป็น 34.20% มีสถานะเป็นคนคุย 330 คน หรือคิดเป็น 8.97% Friends with benefits 50 คน หรือคิดเป็น 1.36% One-night stand 25 คน หรือคิดเป็น 0.68% และอื่นๆ 35 คน หรือ 0.95% เช่น อยู่ใน Friend zone ซื้อ-ขายบริการ และมือที่สาม

ในจำนวนของนักเรียนที่ตอบว่าโสด พบว่า เป็นนักเรียน ม.ต้น 1,084 คน ม.ปลาย 769 คน ปวช. 127 คน ส่วนที่ตอบว่ามีแฟน พบว่า เป็นนักเรียน ม.ต้น 390 คน ม.ปลาย 596 คน ปวช. 272 คน และสถานะเป็นคนคุย พบว่า เป็นนักเรียน ม.ต้น 168 คน ม.ปลาย 121 คน ปวช. 41 คน

ส่วนที่ตอบว่า Friends with benefits พบว่า เป็นนักเรียน ม.ต้น 11 คน ม.ปลาย 21 คน ปวช. 18 คน และ One-night stand 25 คน เป็นนักเรียน ม.ต้น 4 คน ม.ปลาย 9 คน ปวช. 12 คน

สำหรับนักเรียนที่ตอบว่าไม่ได้ไม่ได้อยู่ในสถานะ “โสด” นั้น ร้อยละ 47.41 ระบุว่าเจอคู่รักของตัวเองที่โรงเรียน, 18.11%  รู้จักกันผ่านทางเฟซบุ๊ก, 7.86% มีเพื่อนแนะนำ, 6.58%  เจอกันในที่สาธารณะ เช่น สวนสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า คอนเสิร์ต ฯลฯ, 6.12%  ผ่านทางแอปหาคู่, 5.59%  ผ่านทางอินสตาแกรม, 2.91% เจอกันที่เกมออนไลน์/ร้านเกม หรือ ที่เรียนพิเศษ/ค่าย/กิจกรรมต่างโรงเรียน, และ อื่นๆ เช่น ละแวกบ้าน เจอจาก Omegle, Bigo live, Openchat คิดเป็น 1.86%

 

เคยมีเพศสัมพันธ์หรือไม่

นักเรียนที่ตอบแบบสอบถาม 3,678 คน ส่วนใหญ่ตอบว่า ไม่เคยมีจำนวน 2,591 คน คิดเป็น 70.45%, ส่วนที่ตอบว่าเคย 1,087 คน คิดเป็น 29.55%

ในกลุ่มที่ตอบว่าเคย พบว่า เป็นเพศหญิง 715 คน คิดเป็น 65.78% เพศชาย 240 คน คิดเป็น 22.08% และ LGBTQ+ 102 คน คิดเป็น 9.38% และหากแยกเป็นระดับการศึกษาจะพบว่า เป็นนักเรียน ม.ต้น 153 คน คิดเป็น 14.08% ม.ปลาย 555 คน คิดเป็น 51.06% ปวช. 379 คน คิดเป็น 34.87%

กลุ่มที่ตอบว่า “เคย” มีเพศสัมพันธ์ ระบุว่ามีความสัมพันธ์ในรูปแบบเป็นแฟนมากที่สุด รองลงมาก็คือโสด และคนคุย นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มที่ตอบว่า “เคย” นั้นเจอคู่ของตัวเองจากที่โรงเรียนมากที่สุด รองลงมา คือ เฟซบุ๊กและการแนะนำของเพื่อน

 

อะไรที่ทำให้มีเซ็กส์ครั้งแรก

ส่วนใหญ่ของผู้ตอบแบบสำรวจ พบว่า 716 คน หรือร้อยละ 65.87 ตอบว่า เป็นการตกลงกันทั้งสองฝ่าย รองลงมา คือ บรรยากาศพาไป 255 คน คิดเป็น 23.46%, เพราะเมา 46 คน คิดเป็น 4.23%, ถ้าไม่ให้ กลัวมีปัญหากับความสัมพันธ์ 29 คน คิดเป็น 2.67%, ถูกบังคับ 27 คน คิดเป็น 2.48%, อยากรู้อยากลอง 11 คน คิดเป็น 1.01% และอื่นๆ 3 คน คิดเป็น 0.28%

ส่วนของนักเรียนที่ตอบว่า มีเพศสัมพันธ์เพราะเมา เป็นนักเรียน ม.6 มากที่สุด 16 คน คิดเป็น 34.78% ตามด้วย ปวช.3 จำนวน 7 คน คิดเป็น 15.22% และ ปวช.2 และม.3 เท่ากันที่ 6 คน คิดเป็น 13.04% ขณะที่เรื่องของความอยากรู้อยากลองพบว่า ม.3 เป็นระดับชั้นที่ตอบมากที่สุด 4 คน คิดเป็น 36.36% ตามมาด้วย ม.6 3 คน คิดเป็น 27.27% และ ปวช.3 2 คน คิดเป็น 18.18%

 

การคุมกำเนิด

จากการสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่ใช้ถุงยางอนามัยมากที่สุด 967 คน คิดเป็น 38.63% ใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน 436 คน คิดเป็น 17.42% ตามมาด้วย การหลั่งนอก 393 คน คิดเป็น 15.70% ใช้ยาคุมกำเนิดรายเดือน 241 คน คิดเป็น 9.63% เลือกที่จะไม่คุมกำเนิด 118 คน คิดเป็น 4.71% นับวัน หน้า 7 หลัง 7 104 คน คิดเป็น 4.16% เพศสัมพันธ์ภายนอก (ถูไถ) 95 คน คิดเป็น 3.80% ฝังยาคุม 83 คน หรือ 3.32% ยาคุมแบบฉีด 42 คน คิดเป็น 1.68% อื่นๆ เช่น ถุงยางอนามัยสตรี ห่วงอนามัย ยาคุมแบบแปะ 24 คน คิดเป็น 0.96%

ผู้ที่เลือกตอบข้อถุงยางอนามัย แบ่งเป็น กลุ่มนักเรียน ม.ปลาย มากที่สุด จำนวน 494 คน หรือคิดเป็น 51.09% ตามด้วย ปวช. 348 คน คิดเป็น 35.99% และม.ต้น 125 คน หรือ 12.93%

ขณะที่กลุ่มที่เลือกข้อยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมากที่สุด คือ ม.ปลาย 212 คน คิดเป็น 48.62% ปวช. 168 คน หรือ 38.53% และม.ต้น 56 คน คิดเป็น 12.84%

ในส่วนของคำตอบเรื่องการหลั่งนอก พบว่าเป็นระดับม.ปลาย ตอบมากที่สุด 208 คน คิดเป็น 52.93% ตามมาด้วย ปวช. 143 คน คิดเป็น 36.39% และม.ต้น 42 คน คิดเป็น 10.69% 

และหากพิจารณาเรื่องการไม่คุมกำเนิดโดยแบ่งเป็นเพศ พบว่าเป็นเพศหญิงมากที่สุด 71 คน รองลงมาคือ เพศชาย 24 คน และ LGBTQ+ 19 คน

 

คุมกำเนิดอย่างไร

เมื่อถามว่าโดยปกติคุมกำเนิดอย่างไร ส่วนใหญ่ตอบว่า ใช้ถุงยางอนามัยมากที่สุด 926 คน คิดเป็น 43.76% ตามมาด้วยการหลั่งนอก 351 คน คิดเป็น 16.59% ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน 291 คน คิดเป็น 13.75% ยาคุมกำเนิดรายเดือน 218 คน 10.30% ฝังยาคุม 91 คน 4.3% ไม่คุมกำเนิด 73 คน คิดเป็น 3.45% นับวัน หน้า 7 หลัง 7 จำนวน 61 คน คิดเป็น 2.88% เพศสัมพันธ์ภายนอก (ถูไถ) 50 คน คิดเป็น 2.36% ยาคุมแบบฉีด 38 คน คิดเป็น 1.80% ถุงยางอนามัยสตรี 6 คน คิดเป็น 0.30% ห่วงอนามัย 5 คน คิดเป็น 0.25% อื่นๆ เช่น LGBTQ 4 คน คิดเป็น 0.20% และยาคุมแบบแปะ 2 คน คิดเป็น 0.10%

ในกลุ่มที่ตอบว่า ใช้ถุงยางอนามัย พบว่าเป็นเพศหญิงมากที่สุด 170 คน รองลงมาก็คือเพศชาย 31 คน LGBTQ+ 6 คน และไม่ต้องการระบุเพศ 11 คน ในจำนวนนี้เป็นนักเรียน ม.ต้น 123 คน ม.ปลาย 477 คน ปวช. 326 คน ในขณะที่กลุ่มที่ตอบว่าหลั่งนอก 351 คน นั้น พบว่า เป็นเพศหญิงมากที่สุด 238 คน รองลงมาก็คือเพศชาย 77 คน LGBTQ+ 27 คน และไม่ต้องการระบุเพศ 9 คน ในจำนวนนี้เป็นนักเรียน ม.ต้น 55 คน ม.ปลาย 177 คน ปวช. 119 คน และที่น่าสนใจก็คือกลุ่มที่ตอบว่า ไม่คุมกำเนิด 73 คน พบว่าเป็นเพศหญิงมากที่สุด 38 คน รองลงมาก็คือ LGBTQ+ 17 คน และในจำนวนนี้เป็นนักเรียน ม.ต้น 19 คน ม.ปลาย 33 คน ปวช. 21 คน


ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างไร

84.03% หรือ 1,026 คน ตอบว่า ใช้ถุงยางอนามัย,  6.72% หรือ 82 คน ตอบว่า ไม่ป้องกัน, คำตอบอื่นๆ ได้แก่ ใช้ยาเพร็พ (PrEP) 40 คน คิดเป็น 3.28% ยาเป็ป (PEP) 29 คน คิดเป็น 2.38% และแผ่นยางอนามัย (dental dam) 23 คน คิดเป็น 1.88%

ในกลุ่มที่ตอบว่าใช้ถุงยางอนามัย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 676 คน รองลงมาก็คือเพศชาย 230 คน และ LGBTQ+ 91 คน โดยพบว่าเป็นนักเรียนชั้น ม.ปลายมากที่สุด 523 คน รองลงมา คือ ปวช. 363 คน ในส่วนของกลุ่มที่ตอบว่าไม่ป้องกัน 82 คน พบว่า เป็นเพศหญิงมากที่สุด 53 คน รองลงมาก็คือ LGBTQ+ 14 คน และเพศชาย 12 คน และยังพบว่าเป็นนักเรียนในระดับชั้นม.ปลายมากที่สุด 42 คน รองลงมาก็คือ ปวช. 23 คน

 

ค่าใช้จ่ายอุปกรณ์คุมกำเนิด/ป้องกันโรค

ผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่า คู่ของตนมากที่สุด 339 คน คิดเป็น 31.19% รองลงมาคือ ตัวเอง 332 คน คิดเป็น 30.54% แล้วแต่โอกาส 183 คน คิดเป็น 16.84% หารกัน 130 คน คิดเป็น 11.96% ได้มาฟรี 52 คน คิดเป็น 4.78%ไม่คุมกำเนิด/ไม่ป้องกัน 32 คน คิดเป็น 2.94% และผู้ปกครอง 19 คน คิดเป็น 1.75%

เมื่อพิจารณาจากกลุ่มที่ตอบว่าคู่ของตน พบว่า เป็นเพศหญิงมากที่สุด 297 คน รองลงมาก็คือ LGBTQ+ 27 คน และเพศชาย 8 คน และพบว่าเป็นนักเรียน ม.ปลายมากที่สุด 181 คน รองลงมาก็คือ ปวช. 113 คนในขณะที่กลุ่มที่ตอบว่าตัวเอง 332 คน พบว่า เป็นเพศชายมากที่สุด 168 คน รองลงมาก็คือเพศหญิง 128 คน และ LGBTQ+ 27 คน และยังพบว่าเป็นนักเรียนในระดับชั้นม.ปลายมากที่สุด 157 คน รองลงมาก็คือ ปวช. 134 คน


การเข้าถึงอุปกรณ์คุมกำเนิด/ป้องกันโรค

ส่วนใหญ่ 72.31%  ตอบว่า ซื้อด้วยตัวเอง ผ่านร้านขายยา/ร้านสะดวกซื้อ 786 คน รองลงมาคือ ซื้อด้วยตัวเอง ผ่านทางออนไลน์ 167 คน คิดเป็น 15.36% รับฟรี ผ่านสถานพยาบาลรัฐ 68 คน คิดเป็น 6.26% ไม่คุมกำเนิด 40 คน คิดเป็น 3.68% ผู้ปกครองหาให้และอื่นๆ เท่ากันที่ 13 คน คิดเป็น 1.20% ได้จากเพื่อน 3 คน คิดเป็น 0.28% ได้จากแฟน 2 คน คิดเป็น 0.18%

กลุ่มที่ตอบว่าซื้อด้วยตัวเอง ผ่านร้านขายยา/ร้านสะดวกซื้อ เป็นเพศหญิงมากที่สุด 522 คน รองลงมาเพศชาย 190 คน และพบว่าเป็นนักเรียนชั้นม.ปลาย 392 คน รองลงมาคือ ปวช. 295 คน ส่วนซื้อด้วยตัวเอง ผ่านทางออนไลน์ 167 คน พบว่า เป็นเพศหญิงมากที่สุด 119 คน รองลงมาเพศชาย 23 คน และยังพบว่าเป็นนักเรียนระดับชั้น ม.ปลายมากที่สุด 93 คน รองลงมาคือ ปวช. 55 คน และรับฟรี ผ่านสถานพยาบาลรัฐ 68 คน เป็นเพศหญิงมากที่สุด 37 คน รองลงมาคือเพศชาย และ LGBTQ+ 14 คน และยังพบว่าเป็นนักเรียนระดับชั้นม.ปลายมากที่สุด 41 คน รองลงมาคือ ปวช. 14 คน

 

รู้หรือไม่ว่า สามารถรับถุงยางอนามัย/ยาคุม ได้ฟรี

ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ 64.87% ตอบว่า รู้ และ 35.13% ตอบว่าไม่รู้

ในส่วนที่ตอบว่ารู้ 2,386 คน เป็นเพศหญิงมากที่สุด 1,448 คน รองลงมาก็คือเพศชาย 642 คน และ LGBTQ+ 226 คน โดยเป็นนักเรียนในระดับชั้น ม.ปลายมากที่สุด 1,099 คน รองลงมาคือ ม.ต้น 948 คน ในขณะที่กลุ่มที่ตอบว่าไม่รู้ 1,292 คน พบว่า เป็นเพศหญิงมากที่สุด 733 คน รองลงมาก็คือ เพศชาย 431 คน และ LGBTQ+ 96 คน และพบว่าเป็นนักเรียนในระดับชั้นม.ต้นมากที่สุด 719 คน รองลงมาคือ ม.ปลาย 433 คน

 

คิดอย่างไรกับการต้องให้เลขบัตรประชาชน 13 หลักเพื่อรับอุปกรณ์คุมกำเนิดฟรี

58.02% ตอบว่า เห็นด้วย, ไม่เห็นด้วย 21.75% ไม่เห็นด้วย แต่ต้องให้เพราะต้องการอุปกรณ์คุมกำเนิดฟรี และ 20.23% ไม่ใช้ช่องทางนี้ โดยคนที่ตอบว่าเห็นด้วย 73.15% ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์, 26.85% เคยมีเพศสัมพันธ์

ส่วนกลุ่มที่ตอบว่า เคยคุมกำเนิดด้วยการใช้ถุงยางอนามัย เห็นด้วยกับข้อนี้มากที่สุด 513 คน รองลงมา คือไม่เห็นด้วย แต่ต้องให้เพราะต้องการอุปกรณ์คุมกำเนิดฟรี 249 คน

ส่วนกลุ่มที่ตอบคำถามว่าโดยปกติแล้วคุมกำเนิดด้วยการใช้ถุงยางอนามัย 926 คน จะพบว่าตอบคำถามในข้อนี้ว่าเห็นด้วยมากที่สุด 483 คน รองลงมาคือไม่เห็นด้วย แต่ต้องให้เพราะต้องการอุปกรณ์คุมกำเนิดฟรี 245 คน

ส่วนกลุ่มที่ตอบคำถามว่าป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยการใช้ถุงยางอนามัย 1,026 คน จะพบว่าตอบคำถามในข้อนี้ว่าเห็นด้วยมากที่สุด 483 คน รองลงมาคือ ไม่เห็นด้วย แต่ต้องให้เพราะต้องการอุปกรณ์คุมกำเนิดฟรี 245 คน

ช่องทางการรับอุปกรณ์คุมกำเนิดฟรี

ในส่วนของคำถามที่ว่าหากสามารถรับอุปกรณ์คุมกำเนิดได้ฟรี อยากรับผ่านช่องทางไหน พบว่า สถานพยาบาล/ร้านขายยา โดยไม่ต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคล มากที่สุด 2,122 คน คิดเป็น 57.69% รองลงมาคือ โรงเรียน 669 คน คิดเป็น 18.19% ช่องทางเดิมที่มีอยู่แล้ว 540 คน คิดเป็น 14.68%
สถานที่สาธารณะ เช่น ห้องน้ำสาธารณะ 251 คน คิดเป็น 6.82% ออนไลน์/พัสดุ 37 คน คิดเป็น 1.01% อื่นๆ เช่น สถานที่ซื้อขายบริการ ตู้ใส่ของเฉพาะอุปกรณ์คุมกำเนิด 24 คน คิดเป็น 0.65% ไม่อยากรับ 13 คน คิดเป็น 0.35% ทุกที่ 7 คน คิดเป็น 0.19% สถานพยาบาล/ร้านขายยา/โรงเรียน 7 คน คิดเป็น 0.19% (ไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจงเรื่องการให้ข้อมูลส่วนบุคคล) ไม่รู้ 6 คน คิดเป็น 0.16% และสถานพยาบาล/ร้านขายยา โดยให้ข้อมูลส่วนตัว 2 คน คิดเป็น 0.05%

ในส่วนของคำตอบในข้อนี้จะพบว่า แม้จะมีผู้ตอบว่าอยากรับผ่านสถานพยาบาล/ร้านขายยา โดยไม่ต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคล มากที่สุด 2,122 คน

แต่กลับเป็นคำตอบที่ขัดแย้งกับคำตอบส่วนใหญ่ในคำถามข้อก่อนหน้าที่ถามว่า คิดอย่างไรกับการต้องให้เลขบัตรประชาชน 13 หลักเพื่อรับอุปกรณ์คุมกำเนิดฟรี ซึ่งมีผู้ตอบว่า เห็นด้วย 2,134 คน ซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่เข้าใจว่าเลขบัตรประชาชนก็คือข้อมูลส่วนบุคคล

 

หากตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ จะทำอย่างไร

ส่วนคำถามที่ว่า หากคุณหรือคู่ของคุณตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ จะทำอย่างไร พบว่า

1.    เลือกที่จะตั้งครรภ์ต่อ โดยเรียนต่อ 1,807 คน คิดเป็น 49.13% 
2.    เลือกที่จะยุติการตั้งครรภ์ 1,095 คน คิดเป็น 29.77%
3.    เลือกที่จะตั้งครรภ์ต่อ โดยลาออกจากโรงเรียน 537 คน คิดเป็น 14.60%
4.    ไม่รู้ ไม่แน่ใจ ไม่ตอบ 63 คน คิดเป็น 1.71%
5.    ปรึกษาผู้ปกครอง 44 คน คิดเป็น    1.20%
6.    เป็น LGBTQ+    28 คน คิดเป็น 0.76
7.    ดูความพร้อม 22 คน คิดเป็น 0.60%
8.    เลือกที่จะตั้งครรภ์ต่อ โดยพักการเรียนชั่วคราว 18 คน คิดเป็น 0.49%
9.    อื่นๆ เช่น ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้น แล้วแต่ฝ่ายที่ตั้งครรภ์ 64 คน คิดเป็น    1.74 %
        
ความน่าสนใจของคำตอบในข้อ เลือกที่จะตั้งครรภ์ต่อ โดยเรียนต่อ พบว่าเพศที่ตอบในข้อนี้แบ่งเป็น หญิง 1,045 คน คิดเป็น 57.83% ของผู้ที่ตอบข้อนี้ ชาย 564 คน คิดเป็น 31.21% LGBTQ+ 163 คน คิดเป็น 9.02% และไม่ระบุเพศ 35 คน เป็น 1.94%

ข้อที่มีผู้เลือกมากเป็นอันดับสอง คือ เลือกที่จะยุติการตั้งครรภ์ ผู้ตอบเป็นเพศหญิงมากที่สุด 744 คน หรือคิดเป็น 67.95% ของผู้ที่ตอบข้อนี้ ตามด้วยเพศชาย 217 คน หรือ 19.82% LGBTQ+ 92 คน หรือ 8.40% ไม่ต้องการระบุ 42 คน หรือ 3.84%

ส่วนอันดับสาม คือ เลือกที่จะตั้งครรภ์ต่อ โดยลาออกจากโรงเรียน มีผู้เลือกคำตอบนี้ 537 คน แบ่งเป็นเพศหญิง 290 คน หรือคิดเป็น 54% ของผู้ที่เลือกคำตอบนี้ ตามด้วยเพศชาย 204 คน หรือ 37.99% LGBTQ+ 31 คน หรือ 5.77% และไม่ต้องการระบุเพศ 12 คน หรือ 2.23%

 

รู้หรือไม่ว่า กฎกระทรวงห้ามสถานศึกษาไล่นักเรียนที่ตั้งครรภ์ออก

ส่วนคำถามที่ว่ารู้หรือไม่ว่า กฎกระทรวงห้ามสถานศึกษาไล่นักเรียนที่ตั้งครรภ์ออก พบว่าตอบว่า รู้ 2,007 คน คิดเป็น 54.57% และไม่รู้ 1,671 คน คิดเป็น 45.43%

จากนั้นเมื่อพิจารณาในส่วนของคำตอบที่ว่า รู้ 2,007 คน จะพบว่า เป็นเพศหญิงมากที่สุด 1,216 คน รองลงมาก็คือ เพศชาย 534 คน และอยู่ในระดับชั้นม.ปลายมากที่สุด 958 คน รองลงมาก็คือม.ต้น 771 คน ส่วนคำตอบที่ว่า ไม่รู้ 1,671 คนพบว่าเป็นเพศหญิงมากที่สุด 956 คน รองลงมาก็คือ เพศชาย 537 คน และอยู่ในระดับชั้นม.ต้นมากที่สุด 895 คน รองลงมาก็คือ ม.ปลาย 573 คน

 

เคยพบเห็นนักเรียนคนอื่นที่ตั้งครรภ์และยังเรียนต่อหรือไม่

คำถามที่ว่าเคยพบเห็นนักเรียนคนอื่นที่ตั้งครรภ์และยังเรียนต่อหรือไม่ พบว่าตอบว่า ไม่เคย    1,859 คน คิดเป็น 50.54% และตอบว่า เคย 1,819    คน คิดเป็น 49.46%

จากนั้นเมื่อพิจารณาในส่วนของคำตอบที่ว่า ไม่เคย 1,859 คน จะพบว่า เป็นเพศหญิงมากที่สุด 972 คน รองลงมาก็คือ เพศชาย 685 คน และอยู่ในระดับชั้นม.ต้น มากที่สุด 1,008 คน รองลงมาก็คือ ม.ปลาย 724 คน ส่วนคำตอบที่ว่า เคย 1,819 คน พบว่าเป็นเพศหญิงมากที่สุด 1,209 คน รองลงมาก็คือ เพศชาย 388 คน และอยู่ในระดับชั้นม.ปลายมากที่สุด 808 คน รองลงมาก็คือ ม.ต้น 659 คน


รู้สึกอย่างไรกับคนที่ตั้งครรภ์แล้วยังมาเรียน (คำถามปลายเปิด)

ในส่วนของคำถามที่ว่า รู้สึกอย่างไรกับคนที่ตั้งครรภ์แล้วยังมาเรียน ซึ่งเป็นคำถามปลายเปิด เมื่อนำมาวิเคราะห์และจำแนกเป็นกลุ่มต่างๆ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึก
1.    เฉยๆ เป็นกลาง มากที่สุด 1,584 คน คิดเป็น 43.07% 
2.    ชื่นชม เช่น เขาต้องแกร่งมากเพราะต้องสู้กับสายตาที่มองเขา รู้จัก รับผิดชอบชีวิตของตัวเอง 1,171 คน คิดเป็น 31.84% 
3.    ไม่มีความเห็น เช่น ไม่รู้สึกอะไรเพราะคนเราผิดพลาดกันได้ 348 คน คิดเป็น 9.46% 
4.    เห็นใจสงสาร เช่น รู้สึกสงสารคนๆ นั้นที่ต้องอุ้มเด็กมาเรียนทุกวัน ซึ่งเด็กในท้องนั้นอาจจะมีโดยไม่ได้ประสงค์ 268 คน คิดเป็น 7.29%
5.    ประณาม ไม่ควรมา เช่น หน้าไม่อาย 161 คน คิดเป็น 4.38% 
6.    แปลก ตกใจ เช่น คงรู้สึกแปลกเพราะส่วนใหญ่มักจะลาออก 83 คน คิดเป็น 2.26%
7.    กังวล เช่น กลัวว่าถ้ามาโรงเรียนแล้วจะแท้งแบบไม่รู้ตัว 30 คน คิดเป็น 0.76%
8.    เข้าใจ เช่น ส่วนตัวต้องเข้าใจเขานะเพราะมันอาจจะผิดพลาดจริงๆเราไม่ควรมองเขาด้วยสายตารังเกียจ 10 คน คิดเป็น 0.27%
9.    อื่นๆ เช่น รู้สึกว่าเราต้องป้องกันไม่ไห้เกิดขึ้นกับเรา 25 คน คิดเป็น 0.68% นอกจากนี้ยังมีคนที่เขียนเล่าเรื่องในโรงเรียนด้วยว่า “ขอพูดตรงๆ นะคะ คือเพื่อนมาโรงเรียน แต่ว่า คุณครูไล่ออกแบบเงียบๆ ค่ะ เลือกออก1คน ไม่หญิงก็ชายค่ะ”

 

รู้หรือไม่ว่า สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้อย่างถูกกฎหมายโดยบุคลากรทางการแพทย์ หากอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์

ในส่วนของคำถามที่ว่า รู้หรือไม่ว่า สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้อย่างถูกกฎหมายโดยบุคลากรทางการแพทย์ หากอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ พบว่า ตอบว่า รู้ 2,263 คน คิดเป็น 61.53% และตอบว่า ไม่รู้ 1,415 คน คิดเป็น 38.47%

จากนั้นเมื่อพิจารณาในส่วนของคำตอบที่ว่า รู้ 2,263 คน จะพบว่า เป็นเพศหญิงมากที่สุด 1,509 คน รองลงมาก็คือเพศชาย 454 คน และอยู่ในระดับชั้นม.ปลายมากที่สุด 1,105 คน รองลงมาก็คือ ม.ต้น 809 คน ส่วนคำตอบที่ว่า ไม่รู้ 1,415 คนพบว่าเป็นเพศหญิงมากที่สุด 672 คน รองลงมาก็คือ เพศชาย 619 คน และอยู่ในระดับชั้นม.ต้นมากที่สุด 859 คน รองลงมาก็คือ ม.ปลาย 427 คน

 

เมื่อเกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์ เลือกปรึกษาใคร

ในส่วนของคำถามที่ว่า เมื่อเกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์ เลือกปรึกษาใคร พบว่าผู้ปกครอง 1,480 คน คิดเป็น 40.24% รองลงมาคือ เพื่อน/รุ่นพี่/รุ่นน้องที่สนิท 900 คน คิดเป็น 24.47% คู่ของคุณ 529 คน คิดเป็น 14.38% ไม่ปรึกษา 247 คน คิดเป็น 6.72% นักจิตวิทยา/แพทย์ 208 คน คิดเป็น 5.66%      องค์กรที่ทำงานด้านนี้โดยตรง 109 คน คิดเป็น 2.96% ครู 84 คน คิดเป็น 2.28%     ครูแนะแนว 64 คน คิดเป็น 1.74% คนในโซเชียลมีเดีย 31 คน คิดเป็น 0.84% อื่นๆ 26 คน คิดเป็น 0.71% เช่น Google หมอสูตินารี คนในโซเชียลมีเดียที่ไม่รู้จักและจะไม่ได้เจอกันอีก

จากนั้นเมื่อพิจารณาในส่วนของคำตอบที่ว่าเลือกปรึกษาผู้ปกครอง 1,480 คน จะพบว่า เป็นเพศหญิงมากที่สุด 862 คน รองลงมาก็คือเพศชาย 505 คน และอยู่ในระดับชั้นม.ต้น มากที่สุด 800 คน รองลงมาก็คือม.ปลาย 506 คน ส่วนคำตอบ เพื่อน/รุ่นพี่/รุ่นน้องที่สนิท 900 คน พบว่าเป็นเพศหญิงมากที่สุด 613 คน รองลงมาก็คือเพศชาย 146 คน และอยู่ในระดับชั้นม.ปลายมากที่สุด 441 คน รองลงมาก็คือ ม.ต้น 344 คน และคำตอบคู่ของคุณ 529 คน พบว่า พบว่าเป็นเพศหญิงมากที่สุด 326 คน รองลงมาก็คือเพศชาย 152 คน และอยู่ในระดับชั้นม.ปลายมากที่สุด 279 คน รองลงมาก็คือม.ต้น 131 คน 


            
ได้เรียนเรื่องเพศศึกษาในโรงเรียนหรือไม่

คำถามที่ว่า คุณได้เรียนเรื่องเพศศึกษาหรือไม่ พบว่าตอบว่า เรียนในวิชาสุขศึกษา 2,633 คน คิดเป็น 71.59% เรียนในวิชาเพศศึกษา 938 คน คิดเป็น 25.50% และไม่ได้เรียน 107 คน คิดเป็น 2.91%

ในส่วนของผู้ที่ตอบว่าเรียนในวิชาสุขศึกษา 2,633 คน พบว่าเป็นนักเรียนระดับชั้นม.ต้นมากที่สุด 1,301 คน รองลงมาก็คือม.ปลาย 1,120 คน และส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลางมากที่สุด รองลงมาก็คือภาคเหนือส่วนที่ตอบว่า เรียนในวิชาเพศศึกษา 938 คน พบว่าเป็นนักเรียนระดับชั้นม.ปลายมากที่สุด 365 คน รองลงมาก็คือม.ต้น 315 คน และส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลางมากที่สุด รองลงมาก็คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือและส่วนที่ตอบว่า ไม่ได้เรียน 107 คน พบว่า เป็นนักเรียนระดับชั้นม.ต้นมากที่สุด 51 คน รองลงมาก็คือ ม.ปลาย 47 คน และส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลางมากที่สุด รอลงมาก็คือตะวันออกเฉียงเหนือ

 

โรงเรียนสอนอะไรเรื่องเพศศึกษา

สำหรับคำถามที่ว่า คุณได้เรียนอะไรบ้าง ซึ่งสามารถเลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ พบว่า เรื่องที่เรียนคือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการป้องกัน มากที่สุด 19.69% รองลงมาก็คือ การป้องกันการตั้งครรภ์ 19.57% การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย 18.93% ความหลากหลายทางเพศ 16.09% ทักษะในการจัดการความสัมพันธ์ เช่น การต่อรอง การปฏิเสธ การสื่อสาร 15.42% การเข้าถึงบริการสาธารณสุข 9.86%
ไม่ได้เรียน 0.44%

ดูข้อมูลที่ ผลสำรวจความเห็นนักเรียนต่อประสบการณ์การทางเพศ-ความรัก [ข้อมูลดิบ]