Skip to main content

ยิ่งเข้าใกล้โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง การหาเสียงยิ่งดำเนินไปอย่างเข้มข้น นักการเมืองต่างตะลุยลงพื้นที่และทำแคมเปญบนโลกออนไลน์กันอย่างหนัก ไม่ว่างเว้นแม้ช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ ดิ โอเพนเนอร์ชวนมาสำรวจว่าตลอด 1 เดือนนับจากการประกาศยุบสภา จักรวาลโซเชียลมีเดียของไทยมีความตื่นตัวและตอบรับต่อกระแสการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงมากน้อยเพียงใดบ้าง ทั้งต่อพรรคการเมืองและตัวเก็งที่จะเข้ามานายกรัฐมนตรีคนต่อไป

เฟซบุ๊กยังครองแชมป์แพลตฟอร์มหลักในการสื่อสารการเมือง

ข้อมูลจากการรวบรวมโดยเครื่องมือ Zocial Eye ของบริษัท Wisesight พบว่า การแสดงความเห็นหรือการพูดถึงนักการเมืองในช่วงเวลาของการเลือกตั้งทั่วไป มีความตื่นตัวอยู่มากที่สุดบนเฟซบุ๊ก โดยตั้งแต่ก่อนวันประกาศยุบสภา 1 วัน คือ วันที่ 19 มี.ค.ไปจนถึงวันที่ 19 เม.ย. มีการพูดถึงนักการเมืองและพรรคการเมืองบนเฟซบุ๊กมากที่สุด เป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 73 รองลงมาคือ ยูทูบ ร้อยละ 18 ทวีตเตอร์ ร้อยละ 7 อินสตาแกรม ร้อยละ 1บนเว็บไซต์ข่าว ร้อยละ 1

บทสนทนาว่าที่นายกรัฐมนตรี: ประยุทธ์นำ ตามด้วยประวิตร แต่พูดเชิงลบมากกว่าเชิงบวก

ตลอด 1เดือนที่ผ่านมา มีการพูดถึงตัวตึงว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่กว่า 372,000 ข้อความ บุคคลที่ถูกพูดถึงมากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับการพูดถึงมากกว่า 276,000 ครั้ง คิดเป็นสัดส่วน 69% ของแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีทั้งหมด และส่วนใหญ่ถูกพูดถึงบนเฟซบุ๊กเป็นจำนวนมากกว่า 175,000 ข้อความ การวิเคราะห์ของ Zocial Eye พบว่าส่วนใหญ่เป็นการพูดถึงที่มีลักษณะกลางๆ ในสัดส่วน 82.7% และมีการพูดถึงในเชิงลบ 10.42% และพูดถึงในเชิงบวก 6.82%

แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่มีการพูดถึงมากเป็นอันดับสองในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา คือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ โดยมีการพูดถึง 35,000 ครั้ง คิดเป็นสัดส่วน 9% ของแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีทั้งหมด และส่วนใหญ่ถูกพูดถึงบนเฟซบุ๊กเป็นจำนวนมากกว่า 17,640 ข้อความ การวิเคราะห์ของ Zocial Eye พบว่าส่วนใหญ่เป็นการพูดถึงที่มีลักษณะกลางๆ ในสัดส่วน 86% มีการพูดถึงในเชิงบวก 6.74% และพูดถึงในเชิงลบ 6.67%

อันดับสาม ได้แก่ อนุทิน ชาญวีรกูล มีการพูดถึง 27,600 ครั้ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7 ของแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีทั้งหมด และส่วนใหญ่ถูกพูดถึงบนเฟซบุ๊กเป็นจำนวนราว 16,500 ข้อความ การวิเคราะห์ของ Zocial Eye พบว่าส่วนใหญ่เป็นการพูดถึงที่มีลักษณะกลางๆ ในสัดส่วน 80.8% มีการพูดถึงในเชิงบวก 10.5% และพูดถึงในเชิงลบ 8.6%

อันดับสี่ที่ได้รับการพูดถึง คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มีการพูดถึงมากกว่า 17,500 ครั้ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4 ของแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีทั้งหมด และส่วนใหญ่ถูกพูดถึงบนเฟซบุ๊กเป็นจำนวนราว 7,600 ข้อความ การวิเคราะห์ของ Zocial Eye พบว่าส่วนใหญ่เป็นการพูดถึงที่มีลักษณะกลางๆ ในสัดส่วน 85.7% มีการพูดถึงในเชิงบวก 9.1% และพูดถึงในเชิงลบ 5.17%

อันดับที่ห้า คือ เศรษฐา ทวีสิน มีการพูดถึง 13,760 ครั้ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3 ของแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีทั้งหมด และส่วนใหญ่ถูกพูดถึงบนเฟซบุ๊กเป็นจำนวนราว 6,248 ข้อความ การวิเคราะห์ของ Zocial Eye พบว่าส่วนใหญ่เป็นการพูดถึงที่มีลักษณะกลางๆ ในสัดส่วน 91.6% มีการพูดถึงในเชิงบวกและลบเท่าๆ กัน คือ 3.31% และ 3.05%

ส่วนแพทองธาร ชินวัตรได้รับการพูดถึงมาเป็นอันดับที่หก โดยมีการพูดถึง 12,466 ครั้ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3 ของแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีทั้งหมด และส่วนใหญ่ถูกพูดถึงบนเฟซบุ๊กเป็นจำนวนราว 5,583 ข้อความ การวิเคราะห์ของ Zocial Eye พบว่าส่วนใหญ่เป็นการพูดถึงที่มีลักษณะกลางๆ ในสัดส่วน 93.4% มีการพูดถึงในเชิงบวกและลบเท่าๆ กัน คือ 3.37% และ 3.22%

ส่วนแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีรายอื่นๆ ได้รับการพูดถึงในสัดส่วนที่น้อย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ถูกพูดถึงร้อยละ 2 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และกรณ์ จาติกวณิช ถูกพูดถึงในสัดส่วนที่เท่ากัน คือร้อยละ 1

รวมไทยสร้างชาติ ถูกพูดถึงมากสุด

Zocial Eye รวบรวมการพูดถึงพรรคการเมืองบนโซเชียลมีเดีย 1 เดือนที่ผ่านมา มีจำนวนมากกว่า 1.2 ล้านข้อความ ส่วนใหญ่อยู่บนเฟซบุ๊กร้อยละ 72 รองลงมา คือยูทูบ ร้อยละ 19 ตามมาด้วยทวีตเตอร์ ร้อยละ 7

ส่วนพรรคการเมืองที่มีการพูดถึงมากที่สุด คือ รวมไทยสร้างชาติ มีการพูดถึงมากกว่า 425,900 ครั้ง มีสัดส่วนร้อยละ 32 ของพรรคการเมืองที่ถูกพูดถึงทั้งหมด ส่วนใหญ่ถูกพูดถึงบนเฟซบุ๊ก 310,000 ครั้ง การวิเคราะห์ของ Zocial Eye พบว่าส่วนใหญ่เป็นการพูดถึงที่มีลักษณะกลางๆ ในสัดส่วน 86.6% มีการพูดถึงในเชิงบวก 5.9% และพูดถึงในเชิงลบ 7.5%

พรรคการเมืองที่มีการพูดถึงมากเป็นอันดับสอง คือ ก้าวไกล มีการพูดถึงมากกว่า 390,500 ครั้ง มีสัดส่วนร้อยละ 30 ของพรรคการเมืองที่ถูกพูดถึงทั้งหมด ส่วนใหญ่ถูกพูดถึงบนเฟซบุ๊ก 246,500 ครั้ง การวิเคราะห์ของ Zocial Eye พบว่าส่วนใหญ่เป็นการพูดถึงที่มีลักษณะกลางๆ ในสัดส่วน 87.7% มีการพูดถึงในเชิงบวก 6.7% และพูดถึงในเชิงลบ 5.6%

พรรคการเมืองที่มีการพูดถึงมากเป็นอันดับสาม คือ เพื่อไทย มีการพูดถึงมากกว่า 262,000 ครั้ง มีสัดส่วนร้อยละ 20 ของพรรคการเมืองที่ถูกพูดถึงทั้งหมด ส่วนใหญ่ถูกพูดถึงบนเฟซบุ๊ก 200,000 ครั้ง การวิเคราะห์ของ Zocial Eye พบว่าส่วนใหญ่เป็นการพูดถึงที่มีลักษณะกลางๆ ในสัดส่วน 90.7% มีการพูดถึงในเชิงบวก 5.3% และพูดถึงในเชิงลบ 4%

พรรคการเมืองที่มีการพูดถึงมากเป็นอันดับสี่ คือ ภูมิใจไทย มีการพูดถึงมากกว่า 86,000 ครั้ง มีสัดส่วนร้อยละ 7 ของพรรคการเมืองที่ถูกพูดถึงทั้งหมด ส่วนใหญ่ถูกพูดถึงบนเฟซบุ๊ก 59,000 ครั้ง การวิเคราะห์ของ Zocial Eye พบว่าส่วนใหญ่เป็นการพูดถึงที่มีลักษณะกลางๆ ในสัดส่วน 77.8% มีการพูดถึงในเชิงบวก 17.4% และพูดถึงในเชิงลบ 4.8%

อันดับห้าที่มีการพูดถึง คือ พลังประชารัฐ มีการพูดถึงมากกว่า 72,600 ครั้ง มีสัดส่วนร้อยละ 6 ของพรรคการเมืองที่ถูกพูดถึงทั้งหมด ส่วนใหญ่ถูกพูดถึงบนเฟซบุ๊ก 41,900 ครั้ง การวิเคราะห์ของ Zocial Eye พบว่าส่วนใหญ่เป็นการพูดถึงที่มีลักษณะกลางๆ ในสัดส่วน 87.2% มีการพูดถึงในเชิงบวก 6.1% และพูดถึงในเชิงลบ 6.7%

ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการพูดถึงจากชาวโซเชียลมีเดียในสัดส่วนร้อยละ 5 ของพรรคการเมืองที่ถูกพูดถึงทั้งหมด ขณะที่พรรคไทยสร้างไทย ได้รับการพูดถึงจากชาวโซเชียลมีเดียในสัดส่วนร้อยละ 1

'ประยุทธ์' เอนเกจเมนต์สูงสุด แต่เป็นไปในทางลบ

เมื่อพิจารณาจากจำนวนของเอนเกจเมนต์ หรือการที่ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ หรือมีส่วนร่วมโดยการแสดงความรู้สึก กดไลค์ คอมเมนต์ หรือแชร์ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา Zocial Eye พบว่ามีผู้ใช้โซเชียลมีเดียเข้ามามีส่วนร่วมกับประเด็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีสูงถึง 51.9 ล้านเอนเกจเมนต์ โดย พล.อ.ประยุทธ์ เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่มีเอนเกจเมนต์สูงที่สุด ขณะที่พรรคการเมือง พรรคก้าวไกล สามารถสร้างเอนเกจเมนต์ได้มากที่สุด

พล.อ.ประยุทธ์ ได้เอนเกจเมนต์มาเป็นอันดับที่หนึ่งในจำนวน 20.1 ล้านเอนเกจเมนต์ คิดเป็นร้อยละ 39 ของเอนเกจเมนต์ทั้งหมด จากการวิเคราะห์ของ Zocial Eye พบว่าเป็นเอนเกจเมนต์ในเชิงลบถึง 60% และเชิงบวก 40%

พิธา ซึ่งได้เอนเกจเมนต์สูงเป็นอันดับสอง ในจำนวน 8.45 ล้านเอนเกจเมนต์ คิดเป็นร้อยละ 16 ของเอนเกจเมนต์ทั้งหมด จากการวิเคราะห์ของ Zocial Eye พบว่าเป็นเอนเกจเมนต์ในเชิงลบ 22% และเชิงบวก 78%

ที่สามเป็นของเศรษฐา ทวีสินได้เอนเกจเมนต์จำนวน 6.19 ล้านเอนเกจเมนต์ คิดเป็นร้อยละ 12 ของเอนเกจเมนต์ทั้งหมด จากการวิเคราะห์ของ Zocial Eye พบว่าเป็นเอนเกจเมนต์ในเชิงลบ 46% และเชิงบวก 54%

ตามมาด้วยแพทองธารในอันดับที่สี่ ได้เอนเกจเมนต์จำนวน 5.78 ล้านเอนเกจเมนต์ คิดเป็นร้อยละ 11 ของเอนเกจเมนต์ทั้งหมด จากการวิเคราะห์ของ Zocial Eye พบว่าเป็นเอนเกจเมนต์ในเชิงลบ 68% และเชิงบวก 32%

อันดับที่ห้า ทั้ง พล.อ.ประวิตร และอนุทินได้เอนเกจเมนต์ใกล้เคียงกันที่ประมาณ 3.8 ล้านเอนเกจเมนต์ คิดเป็นร้อยละ 7 ของเอนเกจเมนต์ทั้งหมด จากการวิเคราะห์ของ Zocial Eye พบว่า พล.อ.ประวิตรมีเอนเกจเมนต์ในเชิงลบ 45% และเชิงบวก 55% ส่วนอนุทิน มีเอนเกจเมนต์ในเชิงลบ 39% และเชิงบวก 61%

ส่วนแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีอื่นๆ คุณหญิงสุดารัตน์ได้เอนเกจเมนต์ในสัดส่วนร้อยละ 3 ขณะที่จุรินทร์ และกรณ์ได้เอนเกจเมนต์ในสัดส่วนเพียงร้อยละ 2

ก้าวไกล-เอนเกจเมนต์สุงสุด ภูมิใจไทย-ถูกพูดเชิงบวกมากสุด

ในส่วนของเอนเกจเมนต์ของพรรคการเมือง 1 เดือนที่ผ่านมา Zocial Eye พบว่ามีผู้ใช้โซเชียลมีเดียเข้ามามีส่วนร่วมกับประเด็นพรรคการเมืองสูงถึง 116 ล้านเอนเกจเมนต์ โดยพรรคการเมืองที่ได้รับเอนเกจเมนต์สูงที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง คือ พรรคก้าวไกล ได้เอนเกจเมนต์ไปถึง 38 ล้านเอนเกจเมนต์ คิดเป็นร้อยละ 33 ของยอดรวมเอนเกจเมนต์ทั้งหมด และเป็นเอนเกจเมนต์ในทางลบและบวกใกล้เคียงกัน คือ 53% และ 47% ตามลำดับ

พรรคการเมืองที่ได้เอนเกจเมนต์เป็นอันดับสอง คือ พรรคเพื่อไทย ได้เอนเกจเมนต์จำนวน 26.9 ล้านเอนเกจเมนต์ คิดเป็นร้อยละ 23 ของยอดรวมเอนเกจเมนต์ทั้งหมด และเป็นเอนเกจเมนต์ในทางลบ 40% และในทางบวก60%

อันดับสาม คือ พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้เอนเกจเมนต์จำนวน 25.6 ล้านเอนเกจเมนต์ คิดเป็นร้อยละ 22 ของยอดรวมเอนเกจเมนต์ทั้งหมด และเป็นเอนเกจเมนต์ในทางลบ 60% และในทางบวก40%

อันดับสี่ พรรคพลังประชารัฐ ได้เอนเกจเมนต์จำนวน 8.8 ล้านเอนเกจเมนต์ คิดเป็นร้อยละ 8 ของยอดรวมเอนเกจเมนต์ทั้งหมด และเป็นเอนเกจเมนต์ในทางลบ 61% และในทางบวก39%

อันดับที่ห้า พรรคภูมิใจไทย ได้เอนเกจเมนต์จำนวน 7.8 ล้านเอนเกจเมนต์ คิดเป็นร้อยละ 7 ของยอดรวมเอนเกจเมนต์ทั้งหมด และเป็นเอนเกจเมนต์ในทางลบ 25% และในทางบวก75%

ส่วนพรรคอื่นๆ ประชาธิปัตย์และไทยสร้างไทยได้เอนเกจเมนต์ในสัดส่วนเท่ากันที่ 3% ไทยภักดีและชาติพัฒนากล้า ได้เอนเกจเมนต์เท่ากันที่ 3%

นับถอยหลังวันเลือกตั้งเหลืออีกไม่ถึง 1 เดือน ข้อมูลของ Zocial Eye ทำให้เห็นแนวโน้มของการพูดถึงพรรคการเมืองและนักการเมือง ส่วนใหญ่จะเป็นไปในทางกลางๆ โดยแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุด คือ พล.อ.ประยุทธ์ ที่มีการพูดถึงในเชิงลบมากกว่าบวก รองลงคือ พล.อ.ประวิตร มีการพูกถึงในทางลบและบวกเท่าๆ กัน ขณะที่อันดับสาม อนุทิน ได้รับการพูดถึงในเชิงบวกมากกว่า เช่นเดียวกับอันดับที่สี่ พิธา ที่มีการพูดถึงในเชิงบวกมากกว่าลบเช่นกัน ขณะที่อันดับห้าและหก คือ เศรษฐาและแพทองธาร มีการพูดถึงในเชิงบวกและลบเท่าๆ กันในสัดส่วนที่น้อยกว่านักการเมืองอันดับต้นๆ อาจเพราะยังเป็นคนหน้าใหม่ในสนามการเมืองที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักมักคุ้นมากนัก

ในส่วนของพรรคการเมืองที่ถูกพูดถึง พรรคใหม่แต่หน้าเก่าอย่างรวมไทยสร้างชาติ สร้างความประหลาดใจด้วยการถูกพูดถึงมากเป็นอันดับหนึ่งและเป็นไปในทิศทางเดียวกับการพูดถึงแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค ขณะที่ก้าวไกลมาแรงมีการถูกพูดถึงมากเป็นอันดับสอง สัดส่วนการพูดถึงนำหน้าพรรคการเมืองมากประสบการณ์อย่างเพื่อไทยถึง 10% และภูมิใจไทยถูกพูดถึงเป็นอันดับสี่ ตามมาด้วยพรรคแกนนำรัฐบาลรักษาการณ์ชุดปัจจุบัน อย่างพลังประชารัฐ

หมายเหตุ: บทความนี้ใช้ข้อมูลจากการรวบรวมของเครื่องเมือง Zocial Eye และวิเคราะห์โดยกองบรรณธิการ The Opener