สิธุ อ่อง มยินต์ (Sithu Aung Myint) นักข่าวและผู้วิจารณ์สื่อทั้งในและต่างประเทศ ถูกตัดสินจำคุก 3 ปีในเมียนมา หลังอยู่ในเรือนจำก่อนการพิจารณาคดีมาแล้ว 14 เดือน ด้านผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (RSF) เรียกร้องให้ปล่อยตัวเขาอย่างไม่มีเงื่อนไขและขอให้มีการคว่ำบาตรระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐบาลทหารของเมียนมาดำเนินการปราบปรามอย่างโหดร้าย
เหยื่อรายล่าสุดของการปราบปรามของรัฐบาลเผด็จการทหาร เกิดกับนักข่าวมีความถี่เพิ่มขึ้นสิธุ อ่อง มยินต์ ถูกตัดสินลงโทษเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยศาลทหารพิเศษในเรือนจำอินเส่ง (Insein) ของนครย่างกุ้ง ซึ่งเขาถูกควบคุมตัวตั้งแต่ถูกจับกุมเมื่อ 15 ส.ค. 2564 ที่
เส้นทางอาชีพนักข่าวที่ยาวนานสิธุ อ่อง มยินต์ ทำงานเป็นนักข่าวให้กับนิตยสาร Frontier Myanmar ของพม่า และเป็นนักวิจารณ์ทางการเมืองให้กับสถานีโทรทัศน์ Voice Of America (VOA) ของสหรัฐอเมริกา สื่อทั้งสองถูกห้ามในเมียนมาร์ภายหลังการรัฐประหารในเดือน ก.พ. 2564 ซึ่งบังคับให้เขาต้องหลบซ่อนตัว
เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดฐาน “ยุยงให้พนักงานของรัฐก่ออาชญากรรม” ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 505 (ก) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ถ้อยคำคลุมเครือ ซึ่งรัฐบาลทหารยังคงใช้เป็นข้ออ้างในการตัดสินลงโทษนักข่าว
ก่อนหน้ามีการพิจารณาคดีของสิธุ อ่อง มยินต์ เพียง 2 วัน โทรุ คูโบตะ ช่างภาพถ่ายทำสารคดีชาวญี่ปุ่น ถูกตัดสินจำคุก 10 ปีในเรือนจำ และถอยไปอีก 2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ในวันที่ 28 ก.ย. มีการตัดสินจำคุก Htet Htet Khine นักข่าวฟรีแลนซ์ที่ถูกจับกุมพร้อมกับสีธู อ่อง มิน เป็นเวลา 3 ปี พร้อมถูกให้ใช้แรงงานหนัก
ทั้งนี้ ตามรายงานจาก RSF องค์กรจัดอันดับเสรีภาพสื่อ บอกว่าตั้งแต่ที่มีการรัฐประหารในเมียนมา ก.พ. 2564 สิธุ อ่อง มยินต์ เป็นนักข่าวรายที่ 29 ที่ถูกพิจารณาคดี และมีบุคคลในวงการสื่อถูกจับกุมไปแล้วอย่างน้อย 68 คน เมียนมา เป็นประเทศที่ 2 ที่มีการจับผู้สื่อข่าวขังรองจากแค่ประเทศจีนเท่านั้น และเมียนมายังอยู่ในอันดับที่ 176 จาก 180 ประเทศในการจัดอันดับเสรีภาพสื่อของ RSF ประจำปี 2022