รัฐบาลญี่ปุ่นส่งเสริมให้พ่อมีที่ลูกอ่อน ใช้วันลาเพื่อเลี้ยงลูก แต่การสำรวจพบว่า มีบางบริษัทที่ไม่ให้การสนับสนุนมาตรการดังกล่าว
ขณะที่ภาครัฐของญี่ปุ่นพยายามส่งเสริมการแต่งงานและการมีลูก เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานจากอัตราการเกิดที่ต่ำต่อเนื่องมานับทศวรรษ ร่วมกับการเป็นสังคมผู้สูงวัยขั้นสุด ด้วยการมอบเงินอุดหนุนระยะยาวให้กับครอบครัวที่มีลูกเล็ก การเข้ารับบริการศูนย์เด็กเล็กฟรี การจัดทำแอปพลิเคชั่นหาคู่เดท กระทั่งการลดวันทำงานลงเหลือสัปดาห์ละ 4 วัน
แต่ผลสำรวจทางออนไลน์โดย กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่น ที่ทำขึ้นในเดือนมกราคม 2024 โดยมีพนักงานบริษัทผู้ชายที่ตอบแบบสำรวจจำนวน 500 คน พบว่า ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 24.1 หรือเกือบ 1 ใน 4 ของพนักงานบริษัทผู้ชายที่ใช้สิทธิลางานเพื่อเลี้ยงลูก ถูกข่มขู่คุกคามจากคนในที่ทำงาน ทั้งจากเพื่อนร่วมงานด้วยกันเอง และจากหัวหน้างาน
ผลสำรวจพบว่า สัดส่วนของการข่มขู่คุกคามขึ้นกับขนาดของบริษัทและจำนวนของพนักงาน ในบริษัทที่มีพนักงาน 100 ถึง 299 คน พบว่า มีคนถูกข่มขู่คุกคามเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 30 ในและหากอยู่ในตำแหน่งผู้จัดการ สัดส่วนของผู้ที่ถูกคุกคามจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 33
สำหรับความถี่ของการถูกข่มขู่คุกคาม พบว่า ร้อยละ 45.2 ถูกคุกคามเป็นครั้งคราว ร้อยละ 27 ระบุว่าถูกข่มขู่คุกคามซ้ำๆ โดยร้อยละ 70 ถูกคุกคามหลายครั้ง และร้อยละ 27.8 ระบุว่า ถูกคุกคามเพียงครั้งเดียว ในบริษัทที่มีพนักงานน้อยกว่า 99 คน พนักงานผู้ชายที่ลางานเลี้ยงลูกร้อยละ 42.1 ระบุว่า ถูกข่มขู่คุกคามซ้ำๆ
เมื่อถามถึงลักษณะของการถูกข่มขู่คุกคามจากการทำหน้าที่พ่อ ร้อยละ 24.2 ระบุว่า หัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานขัดขวางการใช้วันลาเพื่อเลี้ยงลูก ตามมาด้วยการบุลลี่อย่างต่อเนื่องร้อยละ 20.8 และการถูกไล่ให้ไปผ่าตัดแปลงเพศ ร้อยละ 19.2
ผู้ตอบแบบสำรวจ ตอบว่า หากพวกเขาต้องเลือกที่จะไม่ใช้สิทธิลางานเพื่อเลี้ยงดูลูก เพราะการถูกข่มขู่คุกคาม ร้อยละ 31.7 ตอบว่า เลือกที่จะไม่ทำงานล่วงเวลา ตามมาด้วยการยืนยันที่จะใช้สิทธิการลาเพื่อเลี้ยงลูเช่นเดิม ร้อยละ 25.8
ที่มา
One in Four New Japanese Fathers Experiences Workplace Paternity Harassment