พิพิธภัณฑ์เสมือนจริงแห่งแรกของยูเนสโก จัดแสดงโบราณวัตถุที่ถูกขโมยผ่านแบบจำลอง 3 มิติ
ยูเนสโก (Unesco) ร่วมกับอินเทอร์โพล (Interpol) หรือองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ วางแผนสร้างพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงแห่งแรก ด้วยความตั้งใจจะรวบรวมวัตถุโบราณทางทางวัฒนธรรมที่ถูกขโมยไป โดยโครงการดังกล่าวมีกำหนดเปิดตัวในปี 2568
วัตถุประสงค์หลักของโครงการด้านนวัตกรรมของยูเนสโกกับอินเทอร์โพลคือ การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการค้าทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่ถูกขโมยไปอย่างผิดกฎหมาย และช่วยเหลือเรื่องการติดตามทวงคืน
ออเดรย์ อาซูเลย์ (Audrey Azoulay) ผู้อำนวยการใหญ่ของยูเนสโก ระบุว่า “เบื้องหลังผลงานหรือวัตถุทางทางวัฒนธรรมที่ถูกขโมยไปทุกชิ้นล้วนมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ และมนุษยชาติอยู่ ซึ่งมันถูกแย่งชิงจากผู้ดูแล ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงการวิจัยได้ และตอนนี้ก็เสี่ยงต่อการถูกลืมเลือน”
ด้วยการร่วมมือกับอินเตอร์โพล พิพิธภัณฑ์เสมือนจริงจะใช้ฐานข้อมูลกว้างขวาง ซึ่งรวบรวมสิ่งประดิษฐ์ที่ถูกขโมยกว่า 52,000 ชิ้น และเปลี่ยนสิ่งของเหล่านั้นให้กลายเป็นแบบจำลองเวอร์ชั่น 3 มิติ
สถาปนิก ฟรานซิส เคเร (Francis Kéré) ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะสถาปนิกชาวแอฟริกันคนแรกที่ได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ (Pritzker Architecture Prize) เข้ามาผู้รับผิดชอบในการออกแบบพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงครั้งนี้ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากห้องโถงกลางของอาคารพิพิธภัณฑ์โซโลมอน อาร์ กุกเกนไฮม์ (Solomon R. Guggenheim Museum) ในนครนิวยอร์ก และสร้างเป็นรูปทรงของต้นบาวบับ (Baobab Tree) ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณอย่างมากในแถบแอฟริกา
พิพิธภัณฑ์เสมือนจริงของยูเนสโกจะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือทางการศึกษา ไม่ใช่เฉพาะแค่เพียงแต่เจ้าหน้าที่ และผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประชาชนทั่วไปด้วย ซึ่งจะเน้นไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ
พิพิธภัณฑ์จะมอบประสบการณ์สุดสมจริงแก่ผู้มาเยี่ยมชม โดยสามารถสำรวจแกลเลอรี เข้าถึงแหล่งข้อมูลทางการศึกษา และทำความเข้าใจถึงความสำคัญของการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม
ภายในพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง ผู้เยี่ยมชมจะได้โต้ตอบกับแบบจำลอง 3 มิติของวัตถุทางวัฒนธรรมที่ถูกขโมย พร้อมด้วยการข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และความสำคัญทางวัฒนธรรมของวัตถุชิ้นนั้นๆ ยิ่งกว่านั้น โครงการยังให้มุ่งมั่นมากกับการรวบรวมเรื่องราว และพยานหลักฐานจากชุมชนที่เป็นเจ้าของวัตถุ ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดความเชื่อมโยงที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นกับวัตถุที่จัดแสดงอยู่