Skip to main content

สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลอังกฤษส่งตัวผู้ลี้ภัยจำนวน 37 คน ไปยังประเทศรวันดา ซึ่งเป็นนโยบายล่าสุดที่บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร ได้ประกาศไว้ว่าตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. เป็นต้นไป ใครก็ตามที่เข้าเมืองแบบผิดกฎหมายจะถูกส่งตัวไปยังรวันดา แบบไม่มีการจำกัดจำนวนคนด้วย

ทั้งนี้เมื่ออังคารที่ผ่านมา (7 มิ.ย.) จะมีการส่งผู้ลี้ภัยล็อตแรกจำนวน 37 คนไปยังรวันดา แต่ด้วยข้อจำกัดด้านกฎหมายทำให้ต้องตัดออกไป  7 คน ก่อนที่ในตอนสุดท้ายเที่ยวบินนี้จะถูกยกเลิกไป ซึ่งข้อตกลงการส่งตัวดังกล่าว รวันดาสามารถขอให้อังกฤษรับผู้ลี้ภัยที่มีความเปราะบางบางส่วนไว้ โดยที่รวันดาเรียกว่าเป็นเคสผิดปกติ

การยกเลิกเที่ยวบินที่ว่านี้ จากองค์กรการกุศลและเหล่าทนายความของผู้ลี้ภัยที่ออกมาต่อต้านนโยบายนี้ โดยพวกเขาตั้งข้อสงสัยว่า รวันดาเป็นจุดหมายปลายทางที่ปลอดภัยจริงหรือ และโต้ว่านโยบายดังกล่าวละเมิดอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษชน อีกทั้งการเข้ามาแทรกแซงของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป ที่ตัดสินว่า หนึ่งในผู้ลี้ภัยที่จะถูกส่งตัวไปยังรวันดามี "ความเสี่ยงที่จะเผชิญกับอันตรายที่ไม่สามารถยับยั้งได้"

ขณะที่ศาลฎีกา มีกำหนดจะพิจารณาทบทวนนโยบายนี้ใหม่ในเดือน ก.ค. ที่จะถึงนี้ หากพบว่าผิดกฎหมาย ผู้ลี้ภัยคนใดก็ตามที่ถูกส่งไปยังรวันดาจะต้องถูกส่งกลับอังกฤษ ด้าน ปรีติ พาเทล รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของอังกฤษ เปิดเผยว่า ขณะนี้พวกเขากำลังจัดเตรียมเที่ยวบินใหม่สำหรับไปส่งผู้ลี้ภัยแล้ว

ด้านผลโพลสำรวจความคิดเห็นชาวอังกฤษบอกว่า นโยบายนี้สร้างความแตกแยก โดยสำรวจจาก 2,463 คน มี 44% ที่สนับสนุนนโยบายนี้ และในจำนวนนี้ 27% ที่บอกว่าพวกเขาสนับสนุนอย่างแข็งขัน ขณะที่ 40% ไม่เห็นด้วย และในจำนวนนี้มี 28% ไม่เห็นด้วยอย่างแข็งขัน

ทั้งนี้ รัฐบาลสหราชอาณาจักร กล่าวว่า ระบบรับผู้ลี้ภัยมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1,500 ล้านปอนด์ หรือราว 63,000 ล้านบาท ตีแล้วตกวันละ 4.7 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 199 ล้านบาท และมีคำอธิบายว่าค่าใช้จ่ายที่สูงนั้น เพราะระบบหลังบ้านที่ค้างมา 10 ปี ใช้เวลาในการรับสมัครนาน และตัวผู้ลี้ภัยเองยังไม่สามารถทำงานได้จนกว่าจะได้ไฟเขียวจากภาครัฐ

ทอม เพอร์สโกลฟ เจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงยุติธรรมที่ทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทย บอกว่า การจ่ายเงินล่วงหน้า 120 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 5 พันล้านบาทให้กับรวันดา ใกล้เคียงกับจำนวนเงินที่รัฐบาลต้องจ่ายไปในตอนนี้ และเชื่อว่าในระยะยาวถ้านโยบายนี้สามารถควบคุมได้ ก็จะช่วยรัฐบาลประหยัดเงินไปได้อีก

อย่างไรก็ตาม มีผู้แสดงความกังวลว่านโยบายนี้ไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีผลสำเร็จด้านการคุ้มค่าเงิน 

นโยบายส่งผู้ลี้ภัยไปรวันดานี้ ประกาศครั้งแรกโดยรัฐบาลอังกฤษเมื่อวันที่ 14 เม.ย. ที่ผ่านมา และระหว่าง 18 เม.ย. - 5 มิ.ย. มีผู็ลี้ภัยจำนวน 2,599 คน เดินมายังอังกฤษโดยเรือขนาดเล็ก 

และตลอดปี 2564 มีผู้ลี้ภัย 28,526 คนเดินทางเข้าไปยังอังกฤษด้วยเรือขนาดเล็ก เพิ่มขึ้นจาก 8,404 คนในปี 2563 ตัวเลขทั้งหมดในปีนี้ (65) คาดว่าจะสูงกว่าปีที่แล้วมาก ตามการระบุของเจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานชายแดน และมีแนวโน้มว่าจะต่ำกว่าสถิติที่พบในสมัยที่โทนี่ แบลร์เป็นนายกรัฐมนตรี และยังต่ำกว่าตัวเลขที่ขอลี้ภัยในฝรั่งเศสและเยอรมนีอยู่มาก