Skip to main content

สรุป

- ญี่ปุ่นให้ 5,000 เยนต่อเดือน (1,260 บาท) จนถึง 18 ปี
- เกาหลีใต้ สนับสนุน 1 ล้านวอน (2.6 หมื่นบาท) ต่อเดือน
- จีน ให้เดือนละ 500 หยวน (2,500 บาท) เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี
- ไทยช่วยเหลือรวมราว 1,400 บาท จนถึงอายุ 6 ขวบ
- เดนมาร์ก ให้ 2.3 หมื่นบาททุกไตรมาส จนถึงอายุ 18 ปี และแม่ได้สิทธิลาคลอด 1 ปี
- สวีเดน จ่าย 4 พันทุกเดือน จนอายุ 16 ปี พ่อแม่ได้สิทธิลารวม 480 วัน แบ่งกันคนละครึ่ง 
- นอร์เวย์ จ่ายเงินช่วยเหลือทุกไตรมาสจนถึงอายุ 18 ปี แม่ได้สิทธิลาคลอด 12 สัปดาห์ก่อนคลอด และ 49 สัปดาห์หลังคลอด
- แคนาดา ให้เงินช่วยเหลือ 1.9 หมื่นบาท กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ขวบ และหยุดลาคลอดได้ 78 สัปดาห์

ส่องสวัสดิการเด็ก หลายประเทศเร่งแก้ปัญหาอัตราเกิดค่ำ ล่าสุดญี่ปุ่นประกาศจ่ายเงินเดือน 5,000 เยน ถึงอายุ 18 ปี

ญี่ปุ่นกระตุ้นเพิ่มประชากร จ่าย 1,260 บาทต่อเดือนถึงอายุ 18 แก้ปัญหาการเกิดใหม่ต่ำ ทำให้หลายประเทศเข้าสู่สังคมสูงวัย ขาดแคลนแรงงานในประเทศแล้ว จนรัฐบาลต้องออกแผนกระตุ้นให้คนในชาติพวกเขามีลูกเพิ่มขึ้น หวังดันอัตราเกิดให้เพิ่มขึ้น 

โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียอย่างญี่ปุ่น เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมมา รัฐบาลเมืองโตเกียว มีแผนที่จะให้เงินสนับสนุน 5,000 เยนต่อเดือน หรือประมาณ 1,260 บาท ให้กับเด็กจนถึงอายุ 18 ปี โดยไม่กำหนดขั้นต่ำรายได้ต่อครัวเรือน ซึ่งมาตรการนี้คือแผนกระตุ้นอัตราการเกิดในญี่ปุ่นที่ตอนนี้ลดลงอย่างรวดเร็ว

เนื่องจากที่ผ่านมา รายงานอัตราการเกิดในญี่ปุ่นปี 2022 ต่ำกว่า 800,000 คนเป็นครั้งแรก ทำให้เมืองโตเกียวต้องออกมาตรการมาเพื่อสนับสนุนให้ครอบครัวชาวญี่ปุ่นมีลูกเพื่อเพิ่มจำนวนประชากรของประเทศ โดยจะเริ่มในเดือน เม.ย. 2023 นี้ ขณะที่ผู้ว่าฯ กรุงโตเกียว ยูริโกะ โคอิเกะ กล่าวว่า การสนับสนุนเด็กคนหนึ่งในเติบโตถือเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต 

มาตรการกระตุ้นให้เกิดเด็ก นอกจากญี่ปุ่นแล้ว ปีที่ผ่านมา (2022) รัฐบาลเกาหลีใต้มีแผนที่จะให้เงินสนับสนุนรายเดือน 1 ล้านวอน หรือราว 26,000 บาท ให้กับเด็กแรกเกิดทุกครอบครัว ซึ่งมาตรการนี้จะเริ่มในปี 2023 รัฐบาลจะมอบเงินให้ก่อน700,000 วอน หรือประมาณ 16,000 บาท ต่อเดือน และจะเพิ่มให้เต็มจำนวนเมื่อถึงปี 2024 แต่เมื่อเด็กอายุ 1 ขวบ เงินช่วยเหลือก็จะลดลงครึ่งหนึ่ง (เพิ่มเติม : Japan Times)

นโยบายนี้เรียกว่า 'Parent pay' เป็นแคมเปญหาเสียงของประธานาธิบบดียุน ซอกยอล หาเสียงไว้ตอนลงชิงเลือกตั้ง เนื่องจากอัตราเกิดภายในประเทศที่ตกต่ำ ซึ่งยอกซอล มองว่าปัญหาเรื่องจำนวนประชากรเป็นหายนะระดับชาติ และในปี 2021 มีรายงานสถิติว่า จำนวนเด็กเกิดใหม่ในเกาหลีใต้ปี 2020 มีเพียง 266,000 คน ลดลง 11,800 คน หรือ 4.3% จากปี 2019 (เพิ่มเติม : mint

ส่วนประเทศจีน ที่เขตหลงอัน มณฑลเวินโจว นั้นจะให้เงินสนับสนุนรายเดือนจำนวน 500 หยวน หรือประมาณ 2,500 บาท ให้ครอบครัวที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ แต่ถ้าครอบครัวไหนมีลูก 3 คน พวกเขาจะได้รับเงินสนับสนุน 1,000 หยวน ราวๆ 5,000 บาทต่อเด็ก 1 คน 

ประชากรจีนเพิ่มขึ้น 480,000 คน เป็น 1,4126 พันล้านคนในปีที่แล้ว ลดลงจาก 2.04 ล้านคนในปี 2563 มารดาชาวจีนให้กำเนิดทารก 10.62 ล้านคนในปี 2564 คิดเป็น 11.5% ลดลงจากปีก่อนหน้า 

ในปี 2022 จำนวนการเกิดในเขตหลงอันอยู่ที่ 2,713 ราย โดยมีอัตราการเกิดร้อยละ 7.91 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2019 ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติท้องถิ่น (เพิ่มเติม : scmp)

ขณะที่ประเทศไทยนั้น หน่วยงานของรัฐบาลออกมาตรการสนับสนุนให้มีลูกเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เกิดจากเมื่อปี 2019 ไทยเข้าสู่ยุคที่เด็กเกิดใหม่น้อยลงเหลือ 5.4 แสนคน ลดลงจากปี 2562 ถึง 42,000 คน สวนทางกับจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการเสียชีวิต 5.6 แสนคนในปีที่ผ่านมา มากกว่าจำนวนการเกิดถึง 19,000 คน เป็นปรากฎการณ์ที่การเกิดน้อยกว่าตายครั้งแรก ซึ่งแสดงได้เห็นว่าประเทศได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว และหากปล่อยให้อัตราการเกิดน้อยลงต่อไปเรื่อยๆ จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตได้

ส่วนมาตรการที่หน่วยงานจากรัฐ เช่น สำนักงานประกันสังคม ให้สิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร 800 บาท ต่อเด็ก 1 คน โดยได้รับคราวละ ไม่เกิน 3 คน จนกว่า บุตรจะมีอายุครบ 6 ขวบ ขณะที่กรมกิจการเด็กและเยาวชน จ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (Child Support Grant) ให้กับครอบครัวที่มีรายได้น้อย สมาชิกครัวเรือนมีรายได้ เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน ต่อปีแก่เด็กที่มีสัญชาติไทย และเกิดตั้งแต่ วันที่ 1 ต.ค. 2558 เป็นต้นไป รายละ 600 บาท ต่อเดือน จนมีอายุครบ 6 ขวบ (เพิ่มเติม : สำนักข่าวอิศรา

นโยบายของแต่ละประเทศข้างต้นนั้นออกมาเพื่อกระตุ้นให้คนในประเทศมีลูก เพื่อเพิ่มแรงงานให้กับประเทศ แต่ประเทศแถบตะวันตกเลือกที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ครอบครัวเพื่อแบ่งเบาภาระในการเลี้ยงลูก ประเทศเหล่านี้พยายามจัดงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้และหาเหตุผลเข้าข้างตนเองเพราะเป็นการดูแลผู้ที่อาศัยอยู่ที่นั่น และนี่คือประเทศที่มีมาตรการดูแลคนในประเทศของพวกเขา

ประเทศเดนมาร์ก จะมอบเงินทุกไตรมาสกับผู้ปกครองต่อเด็ก 1 คน จนกว่าจะอายุ 18 ปี ครอบครัวจะได้รับ 673.64 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 23,000 บาท ผู้หญิงได้สิทธิลา 4 สัปดาห์ก่อนคลอดบุตรและรับประกันการลาได้ 52 สัปดาห์ หรือ 1 ปีเต็ม

ด้านสวีเดน จะมอบเงินรายเดือนจำนวน 136 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 4,400 บาทต่อเด็ก 1 คน จนถึงอายุ 16 ปี ส่วนพ่อแม่นั้นมีสิทธิลา 480 วัน แบ่งคนละครึ่งได้ ขณะที่ประเทศนอร์เวย์ นั้นจ่ายเงินช่วยเหลือทุกไตรมาสกับเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 18 ปี คุณแม่ชาวนอร์เวย์จะได้วันลา 12 สัปดาห์ก่อนคลอด และหลังคลอดได้สิทธิลาอีก 49 สัปดาห์ 

สุดท้ายที่ประเทศแคนาดา จะให้เงินช่วยเหลือแก่พลเมืองของพวกเขาที่ 569 เหรียญสหรัฐฯ หรือราว 19,000 บาท สำหรับเด็กแต่ละคนที่มีอายุต่ำกว่า 6 ขวบ และรายได้ต่อเดือนของคุณต้องต่ำกว่า 32,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1,087,000 บาท แถมการหยุดหลังคลอดสามารถขยายได้ถึง 78 สัปดาห์ (เพิ่มเติม : moms)

World Economic Forum รายงานว่า เด็กเกือบหนึ่งพันล้านคนทั่วโลกกำลังเผชิญกับความเจ็บปวดจากความหิวโหยและความเจ็บป่วยเนื่องจากความยากจน พวกเขาไม่สามารถจ่ายสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตได้ เช่น น้ำสะอาด, ความร้อน, หรือที่พักอาศัย และมักไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา ทำให้โอกาสในการขยับขึ้นสู่สถานะชีวิตที่ดีขึ้นยาก และจากการวิเคราะห์ร่วมกันของยูนิเซฟและธนาคารโลก พบว่า เด็กประมาณ 356 ล้านคนทั่วโลกอยู่ภายใต้เส้นแบ่งความยากจนขั้นรุนแรง โดยมีรายได้น้อยกว่า 1.90 ดอลลาร์ (64 บาท) ต่อวัน

การลดความยากจนในเด็กมีความสำคัญต่อการปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้เปราะบางที่สุด เด็กที่เติบโตมาในความยากจนมักถูกมองว่าอายุขัยสั้นลงและถูกลิดรอนศักดิ์ศรี เด็กที่อยู่ในความยากจนยังมีความเสี่ยงที่จะถูกความรุนแรงและการแสวงประโยชน์ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมในการแต่งงานของเด็กเป็นตัวอย่างหนึ่งของการแสวงประโยชน์จากเด็ก ซึ่งมักเกิดจากความยากจน การละเมิดสิทธิมนุษยชนของเด็กผู้หญิงอย่างชัดเจนนี้ทำให้พวกเธอไม่มีโอกาสที่จะตระหนักถึงศักยภาพสูงสุดของตนเอง และอาจทำให้พวกเธอเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจ

เงินสงเคราะห์บุตรถ้วนหน้า รายเดือนจึงเป็นผลประโยชน์แบบคงที่สำหรับเด็กทุกคนที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี เป็นมาตรการที่เชื่อถือได้สูงและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในปี 2019 นักวิจัยด้านความยากจนที่โดดเด่น 10 คนในสหรัฐอเมริกา รวมถึงหัวหน้าศูนย์ความยากจนที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และมหาวิทยาลัยมิชิแกน ร่วมมือกันทำการศึกษาอย่างครอบคลุมเพื่อประเมินผลกระทบของเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน 250 ดอลลาร์ (8,500 บาท) ต่อเดือนต่อระดับความยากจน พวกเขาพบว่าเงินช่วยเหลือเด็กสากลเป็นระยะๆ ละ 250 ดอลลาร์ (8,500 บาท) จะลดปัญหาความยากจนของเด็กโดยรวมลงเกือบ 40% และความยากจนของเด็กในระดับลึกลง 50% ในสหรัฐอเมริกา