Skip to main content

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยถึงแนวทางการพิจารณาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เหมาะสมกับการแยกตัวที่บ้านทางโซเชียลมีเดีย เป็นการออกคำแนะนำเพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์ หากกรณีมีผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มมากขึ้น แต่ยังไม่ถึงขั้นต้องใช้มาตรการดังกล่าว ผู้ติดเชื้อทุกรายต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หรือโรงพยาบาลสนามหรือฮอสปิเทล ที่ภาครัฐกำหนด

โดยแนวทางการพิจารณาสำหรับผู้เหมาะกับการกักตัวอยู่บ้านนั้น ต้องเป็นผู้ที่ตรวจพบเชื้อโควิด ควรรับการจัดแยกเพื่อการดูแลรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการควรได้รับการดูแลรักษาในโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนาม หรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ ตามความเหมาะสมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการควรแยกตัวจากผู้อื่นไม่น้อยกว่า 14 วันเช่นเดียวกัน

โรงพยาบาลอาจพิจารณาให้ผู้ติดเชื้อใช้ที่พักอาศัยเป็นสถานที่แยกตัว เช่น บ้านเดี่ยว หอพัก หรือคอนโดมิเนียมโดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของสถานที่แล้ว การจัดเตรียมสถานที่เพื่อการแยกตัวอย่างเหมาะสมให้เป็นไปตามคำแนะนำการปฏิบัติการแยกตัวที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยโควิดที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาตัวแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาล หากผู้ติดเชื้อไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แนะนำให้แยกตัวต่อเนื่องครบ 1 เดือน

 

เกณฑ์การพิจารณาผู้ป่วยเพื่อแยกตัว



ต้องเป็นผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ, มีอายุไม่เกิน 40 ปี, มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง, มีผู้ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน, ไม่มีภาวะอ้วน (ภาวะอ้วน หมายถึง ดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กก./ม. หรือ น้ำหนักตัว >90 กก.), ไม่มีโรคร่วม (ประกอบด้วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคไตเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ และโรคอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์) และต้องยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง

การดำเนินการของโรงพยาบาล คือ ประเมินความเหมาะสมผู้ติดเชื้อแยกตัวในสถานที่พักของตนเอง, ลงทะเบียนผู้ติดเชื้อที่เข้าเกณฑ์การแยกตัวที่บ้านในระบบของโรงพยาบาล, ควรถ่ายภาพรังสีทรวงอก หากพบความผิดปกติ แนะนำให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล, แนะนำการปฏิบัติตัว และจัดเตรียมปรอทวัดไข้ และ pulse oximeter ให้กับผู้ป่วยติดเชื้อ, ติดตามประเมินอาการผู้ติดเชื้อระหว่างการแยกตัวที่บ้าน ผ่านระบบสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ติดตามอาการ สอบถามอาการไข้ ค่า oxygen saturation วันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) เป็นระยะเวลา 14 วัน, จัดช่องทางติดต่อในกรณีผู้ติดเชื้อมีอาการเพิ่มขึ้น หรือภาวะฉุกเฉิน อาทิ มีไข้ลอย หอบเหนื่อย หายใจลำบาก, จัดระบบรับ ส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลในกรณีผู้ติดเชื้อจำเป็นต้องย้ายเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาล,ให้ความมั่นใจในมาตรฐานการดูแลรักษาของที่มแพทย์และพยาบาลสำหรับผู้ติดเชื้อ