Skip to main content

ในศตวรรษที่ 1800 อายุขัยเฉลี่ยของคนอยู่ที่ไม่เกิน 40 ปี แต่ปัจจุบันคนในทุกภูมิภาคต่างมีอายุยืนยาวขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เป็นผลจากพัฒนาการที่ก้าวหน้าทางด้านสุขภาพ ทั้งเรื่องโภชนาการ สารอาหาร น้ำดื่มที่สะอาด สุขอนามัยที่ดีขึ้น การดูแลเด็กทารก ยาปฏิชีวนะ วัคซีน และเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงการสาธารณสุขที่ดี การมีคุณภาพชีวิตที่ดี เศรษฐกิจที่เติบโต และความยากจนที่ลดลง

 

ผู้หญิงอายุยืนกว่าผู้ชาย

สงครามใหญ่ เช่น สงครามโลก ทำให้ผู้ชายจำนวนมากเสียชีวิตในสมรภูมิขณะที่อายุยังน้อย แต่สงครามเป็นเพียงหนึ่งในอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้หญิงอายุยืนกว่า

ทารกชายเกิดใหม่ มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าทารกหญิง และมีความเปราะบางต่อการเจ็บป่วยมากกว่า ในวัยรุ่น ผู้ชายมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าผู้หญิง จากสาเหตุความรุนแรงและอุบัติเหตุ ซึ่งยังคงเกิดต่อเนื่องจนกระทั่งเข้าสู่วัยชรา ผู้ชายมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าผู้หญิง จากสภาพร่างกายที่ป่วยเจ็บเรื้อรัง เป็นผลจากการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮฮล์ และใช้สารเสพติดในปริมาณที่สูงกว่า

 

มนุษย์มีอายุขัยยืนยาวกว่าที่ดาดการณ์ไว้ครั้งแล้วครั้งเล่า

ในปี 1928 หลุยส์ ดับลิน นักสถิติชาวอเมริกัน ใช้ข้อมูลในการคาดการณ์อายุขัยที่ยืนยาวที่สุดของมนุษย์ โดยคาดการณ์ว่าอายุขัยของชาวอเมริกันจะอยู่ที่ 57 ปี แต่ข้อเท็จจริง ชาวอเมริกันมีอายุยืนยาวเฉลี่ย 64.8 ปี และอายุขัยของมนุษย์เพิ่มขึ้น 1 ปีในทุกๆ 4 ปี

อายุขัยยืนยาวขึ้นกว่าอดีต