Skip to main content

ทุกๆ ฤดูแล้ง ‘ไฟป่า’  ถือเป็นภัยพิบัติใหญ่ที่สร้างหายนะต่อสิ่งแวดล้อม และชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่บนเกาะเบอร์เนียวตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอินโดนีเซีย ผืนป่าแห่งนี้ป็นเกาะใหญ่ที่สุดในภุมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นผืนป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง

ทว่า ช่วงระหว่างปี 1973 ถึง 2015 ป่าหดหายไปจากการตัดไม้ทำลายป่า สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และเกษตรกรรมที่ไม่ถูกวิธี ซึ่งทำให้เกิดไฟป่าที่สามารถลุกลามไปทั่วพื้นที่ผืนป่าแห่งนี้อย่างรวดเร็ว

ผู้หญิงกลุ่มหนึ่งจึงลุกขึ้นมารวมตัวกันเพื่อจัดการปัญหาที่กำลังเผาผลาญบ้านเรือนของพวกเธอ ซึ่งต่อมากลายเป็น ‘Power of Mama’ นักดับเพลิงหญิงกลุ่มแรกในเกาะเบอร์เนียว ประกอบไปด้วยผู้หญิงจำนวน 50 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 25 - 50 ปี และหลายคนก็เป็นคุณแม่ หรือคุณยาย/คุณย่า พวกเธอทำงานหยุดยั้งไฟป่า โดยได้รับการฝึกฝนวิธีการดับเพลิงขั้นพื้นฐาน และติดอาวุธด้วยโดรน และสมาร์ทโฟน

พวกเธอเดินทางโดยใช้มอเตอร์ไซค์ เพื่อสอดแนมหาเพลิงไหม้ในพื้นที่ป่า พร้อมกันนี้ยังทำงานป้องกันไฟป่าด้วยการให้ความรู้แก่ชุมชนของตัวเอง สนับสนุนให้เกษตรกรเลิกแนวทางปฏิบัติแบบฟันแล้วเผา พร้อมสนับสนุนการอนุรักษ์สัตว์ป่า เปลี่ยนทัศนคติต่อผู้หญิงในสังคม และสร้างโลกที่ดีกว่าสำหรับคนรุ่นต่อๆ ไป

“ช่วงปี 2015 และ 2019 พวกเราทุกข์ทรมานจากไฟป่าเป็นอย่างมาก ซึ่งหลายครั้งมันเกิดขึ้นจากการเผาของเกษตรกร แต่พอเราเข้าไปแนะนำ พวกเขากลับไม่ฟังพวกเรา แต่บ่อยครั้งที่เราเห็นว่าเกษตรกรเหล่านี้ฟังภรรยาของพวกเขา นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของ Power of Mama” ดร. Karmele Llano Sanchez ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Power of Mama เล่า

“ตอนนั้นมีผู้หญิงสองคน คือ Ibu Siti และ Ibu Maimun ที่ทำงานร่วมกับเราอยู่แล้ว เป็นคนอาสาออกไปลาดตระเวรและพูดคุยกับเกษตรกร พวกเธอได้รับความเคารพนับถืออย่างดีจากคนในชุมชน และทุกคนก็รับฟังพวกเธอ ทั้งยังได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วจากเจ้าหน้ารัฐเมื่อเราตรวจพบเพลิงไหม้ และพวกเธอนี่แหละที่เป็นผู้รวบรวมผู้หญิงคนอื่นๆ ให้มาทำงานด้วยกัน” 

หลังการรวมตัวของกลุ่ม ‘Power of Mama’ ผู้หญิงในพื้นที่มีสิทธิ์มีเสียงเพิ่มมากขึ้น พวกเธอสามารถเป็นผู้นำ และดำเนินงานร่วมกับนักดับเพลิงและสมาชิกในชุมชนคนอื่นๆ เพื่อช่วยกันปกป้องป่าไม้ สัตว์ป่าพื้นเมือง บ้านเรือน ครอบครัว และอากาศที่ทุกคนหายใจ

บทบาทของ ‘Power of Mama’  ไม่เพียงเปลี่ยนทัศนคติต่อบทบาทผู้หญิงในหมู่บ้านเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถและความสำเร็ของผู้หญิง นอกจากนี้ สมาชิกกลุ่มยังสามารถเอาชนะความยากจนอีกด้วย เนื่องจากบทบาทนักดับเพลิงทำให้พวกเธอมีรายได้เลี้ยงชีพ ไม่เพียงเท่านั้น ยังทำให้พวกเธอมีปากมีเสียงในสังคม 

“พวกเราคือกลุุ่มคุณแม่ที่มาร่วมกันปกป้องป้าไม้รอบตัวเรา ฉันมีบทบาทในการลาดตระเวนเพื่อป้องกันไฟป่า รวมถึงการพูดคุนกับชุมชนท้องถิ่นว่าเราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพ ความเป็นอยู่ และความปลอดภัยของครอบครัวและชุมชนของเราได้ ฉันหวังว่า Power of Mama จะเติบโตขึ้น และเราสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้ลูกหลานของเราในเรื่องความต้องการที่อยากปกป้องป้าที่เราเรียกว่าบ้าน” คุณแม่ท่านหนึ่งจาก Power of Mama กล่าวปิดท้าย