Skip to main content

บีบีซี เปิดเผยว่า นวนิยายแนวดิสโทเปียของจอร์จ ออร์เวลล์ เรื่อง '1984' กำลังเป็นหนังสือติดอันดับขายดีทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศรัสเซีย

สำนักข่าวใหญ่ของรัสเซียอย่าง Tass ซึ่งเป็นสำนักข่าวของรัฐ รายงานเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. ที่ผ่านมาว่า นวนิยายเรื่อง '1984' นี้เป็นหนังสือยอดนิยมที่มีการดาวน์โหลดในปี 2022 บนแพลตฟอร์มของ LitRes ผู้จำหน่ายหนังสือออนไลน์ของรัสเซีย และมียอดดาวน์โหลดเป็นอันดับ 2 ในทุกหมวดหนังสือ

นวนิยาย 1984 แต่งโดย จอร์จ ออร์เวลล์ นักเขียนชาวอังกฤษ ได้รับการตีพิมพ์ในปี 1949 เมื่อลัทธินาซีเพิ่งล่มสลาย และเป็นยุคสงครามเย็นของตะวันตกกับพันธมิตรที่มีโจเซฟ สตาลิน และกลุ่มคอมมิวนิสต์โซเวียตที่เขาเป็นผู้นำกำลังเริ่มต้นขึ้น ทั้งนี้หนังสือเล่มนี้ถูกแบนในสหภาพโซเวียตจนถึงปี 1988

ออร์เวลล์ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ บอกว่า เขาใช้การปกครองแบบเผด็จการของสตาลินเป็นต้นแบบสำหรับบิ๊กบราเธอร์ (Big Btother) ในเนื้อเรื่อง ที่ซึ่ง "ตำรวจทางความคิด" บังคับให้ประชาชน "คิดซ้ำซ้อน" เพื่อเชื่อว่า "สงครามคือสันติภาพ เสรีภาพคือการเป็นทาส"

และบางคนสะท้อนความร่วมสมัยในการปกครองของวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาบดีรัสเซีย ผู้กำจัดความขัดแย้งทางการเมืองและสื่อที่วิพากษ์วิจารณ์ออกไปให้พ้นทางในช่วงสองทศวรรษที่ครองอำนาจอยู่ และการรุกรานยูเครนของเขาในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมากระตุ้นให้เกิดกฎหมายใหม่ที่ทำให้การเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสงครามที่ไม่สอดคล้องกับแถลงการณ์ของทางการถือเป็นอาชญากรรม โดยทางเครมลินหลีกเลี่ยงคำว่า "สงคราม" แต่ใช้คำว่า "ปฏิบัติการทางทหารพิเศษ" แทน และเจ้าหน้าที่ในมอสโกยืนยันว่ารัสเซียไม่มีความอาฆาตพยาบาทต่อยูเครน ไม่ได้โจมตีเพื่อนบ้าน และไม่ได้ครอบครองดินเดนยูเครนส่วนที่ยึดมา

ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อิลยา ยาชิน (Ilya Yashin) นักการเมืองฝ่ายค้านของรัสเซียถูกตัดสินจำคุก 8 ปีครึ่งในข้อหาเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับกองทัพ เนื่องจากการอภิปรายหลักฐานที่นักข่าวตะวันตกเปิดเผยเกี่ยวกับความโหดร้ายของรัสเซียในเมืองบูคา ใกล้เมืองเคียฟ ซึ่งทางรัสเซียกล่าวว่าหลักฐานนั้นถูกทำขึ้นมา ส่วนเมื่อเดือนที่แล้ว (พ.ย.) โฆษกเครมลิน กล่าวว่าไม่มีการโจมตีเป้าหมายพลเรือน แม้จะมีการทิ้งระเบิดเป็นระลอกก็ตามในโรงไฟฟ้ายูเครน ที่ทำให้ชาวยูเครนหลายล้านคนไม่มีไฟฟ้าสำหรับทำความร้อนและแสงสว่างในช่วงฤดูหนาวนี้ก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ผู้แปลภาษารัสเซียของ 1984 ฉบับล่าสุด มองว่า เนื้อหาในนวนิยายของออร์เวลล์นั้นมีความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ปัจจุบันอยู่ อละมองว่า ออร์เวลล์เองก็คงไม่คิดฝันว่ายุคของลัทธิเผด็จการเสรีนิยม หรือ ลัทธิเสรีนิยมแบบเบ็ดเสร็จจะมาถึงชาติตะวันตกและผู้คนได้เช่นนี้  

ที่มา : BBC