บีบีซี รายงานว่า จอร์เจีย เมโลนี ผู้นำฝ่ายขวาจัด ประกาศชัยชนะในการเลือกตั้งของอิตาลี และกำลังจะเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ โดยเธอได้รับการคาดหวังเป็นวงกว้างว่าจะจัดตั้งรัฐบาลฝ่ายขวาที่สุดนับของอิตาลีตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งสร้างความตระหนกให้กับยุโรปส่วนใหญ่ เนื่องจากอิตาลีเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามของสหภาพยุโรป
อย่างไรก็ตาม ภายหลังการเลือกตั้ง เมโลนี กล่าวว่า พรรค Brothers of Italy party ของเธอจะปกครองเพื่อทุกคน และจะไม่ทรยศต่อความไว้วางใจของประชาชน ซึ่งชาวอิตาลีส่งข้อความชัดเจนว่าสนับสนุนรัฐบาลฝ่ายขวาที่นำโดยพรรคของเธอ
อ้างอิงจากผลคะแนนชั่วคราวบอกว่า เมโลนี ถูกคาดการณ์ว่าจะชนะคะแนนโหวตมากถึง 26% แซงหน้าคู่แข่งที่ใกล้เคียงที่สุดของเธอ คือ เอนริโก้ เลตเต้ จากฝ่ายกลางซ้าย
ส่วนพันธมิตรของเมโลนี ที่รวมถึงมัตเตโอ ซัลวินี จากพรรคลีก ขวาสุด (far-right League) และฝ่ายกลางขวา ฟอร์ซา อิตาเลีย ของอดีตนายกรัฐมนตรีซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี ที่ตอนนี้ดูเหมือนจะมีอำนาจควบคุมทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร โดยคาดจะมีวุฒิสภาถึง 42.2%
แต่อย่างไรก็ตาม คนที่จะตัดสินใจว่าใครจะกลายเป็นผู้นำคนต่อไปของอิตาลีนั้นคือ ประธานาธิบดี ไม่ใช่ จอร์เจีย เมโลนี และอาจต้องใช้เวลาด้วย
แม้เมโลนีจะทำงานหนักเพื่อให้ภาพลักษณ์ของเธออ่อนน้อมลง โดยเน้นที่การสนับสนุนยูเครนและการใช้วาทศิลป์ต่อต้านสหภาพยุโรป แต่เธอก็เป็นผู้นำพรรคที่มีรากฐานมาจากขบวนการหลังสงครามที่เกิดขึ้นจากลัทธิฟาสซิสต์ของเผด็จการเบนิโต มุสโสลินี
การคาดการณ์ทำให้พันธมิตรกลางซ้ายตามอยู่ 26% และเดบอรา เซอแรคเชียนี ของพรรคเดโมแครติค (Democratic Party) ที่กล่าวว่า เป็นค่ำคืนที่น่าเศร้าสำหรับเรื่องสิทธิในอิตาลี ที่จะมีเสียงข้างมากในรัฐสภา แต่ไม่ใช่กับคนในประเทศ
ทั้งนี้ ฝ่ายซ้ายล้มเหลวในการสร้างความท้าทายที่เป็นไปได้กับพรรคอื่นๆ หลังจากรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติของอิตาลีล่มสลายทั้งที่มีอายุเพียง 18 เดือนเท่านั้น
กระทรวงมหาดไทยของอิตาลี เปิดเผยว่า มีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยมากเพียง 63.82% เท่านั้นเมื่อถึงเวลาปิดโหวต โดยคะแนนลดลงเกือบ 10% จากปี 2018 โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศรวมถึงซิซิลีด้วย
ประเทศอิตาลี เป็นผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและเป็นสมาชิกนาโต (NATO) และสุนทรพจน์ของเมโลนี เกี่ยวกับสหภาพยุโรปทำให้เธอใกล้ชิดกับวิกเตอร์ ออร์บาน ผู้นำชาตินิยมของฮังการี ซึ่งพันธมิตรของทั้งสองคนนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซีย แบร์ลุสโคนี วัย 85 ปี อ้างว่าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วลาดิมีร์ ปูติน ถูกผลักดันให้บุกยูเครน ขณะที่ซัลวินี เรียกร้องให้มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการคว่ำบาตรของตะวันตกต่อมอสโก
ส่วนเมโลนี ต้องการทบทวนการปฏิรูปอิตาลีที่ตกลงไว้กับสหภาพยุโรป เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือและเงินกู้ยืมเพื่อการฟื้นฟูหลังโควิด เกือบ 2 แสนล้านยูโร หรือราว 7.3 ล้านล้านบาท โดยอ้างว่าวิกฤตพลังงานได้เปลี่ยนแปลงสถานการณ์
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจความคิดเห็นของ Rai TV เสนอว่า ทั้ง 3 พรรคจะมีที่นั่ง 227-257 ที่นั่งในสภาที่มีขนาด 400 ที่นั่ง และ 111-131 ที่นั่งจากทั้หมด 200 ที่นั่งในวุฒิสภา และผลสำรวจจากที่เดิมยังแสดงให้เห็นด้วยว่า กลุ่มพันธมิตรที่นำโดย เมโลนี มีอำนาจเหนือกว่า ฝ่ายซ้ายกลางจะมีที่นั่งเพียง 78-98 ที่นั่งในสภา และ 33-53 ที่นั่งในวุฒิสภาเท่านั้น